การพัฒนาโครงสร้างเส้นใยจากวัสดุเหลือใช้เลียนแบบรากพืชเพื่อเพิ่มการดูดซับน้ำให้กับวัสดุปลูกสำหรับพืชกระถาง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีรวัจน์ เหรียญสุวรรณ, อธิคมฌาณ ชัยถาวรกิจ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธีรพงศ์ อ่อนอก
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการสังเกตการรดน้ำต้นไม้พบว่า ปริมาณน้ำที่พืชได้รับจากการรดน้ำน้อยกว่าปริมาณน้ำที่รดไป ในขณะที่รดน้ำจะมีน้ำที่สูญเสียไปโดยไม่ได้รับการดูดซึมจากพืชในกระถางทำให้มีการสูญเสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยถ้าคิดปริมาณน้ำที่เสียไปในทั้งประเทศมีปริมาณเยอะมากเมื่อเทียบกับปริมาณที่น้ำที่พืชสามารถดูดซับไว้ได้ จากปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาจึงศึกษาวิธีการเพิ่มปริมาณน้ำที่พืชสามารถดูดซับไว้ได้ให้ได้มากขึ้นและสูญเสียน้ำจากการรดน้อยที่สุด โดยเลือกศึกษาโครงสร้างของรากพืชเพื่อใช้เป็นองค์ความรู้ในการออกแบบโครงสร้างเส้นใยเลียนแบบรากพืช โดยมีกระบวนการทดลอง 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน จากเอกสารที่เกี่ยว สำรวจข้อมูลของ PLA Filament และศึกษาสมบัติในการยึดติดของน้ำ 2) ขั้นตอนการออกแบบและประดิษฐ์ ทำการออกแบบ และประดิษฐ์ โครงสร้างเส้นใยจากวัสดุเหลือใช้เลียนแบบรากพืช โดยใช้หลักการยึดเกาะของน้ำต่ออนุภาคอื่น ๆ และการดูดซึมและกักเก็บน้ำของวัสดุ 3) ขั้นการทดสอบและนำไปใช้ โดยทำการทดสอบโครงสร้างเส้นใยที่มีส่วนช่วยเพิ่มการดูดซับน้ำของวัสดุปลูก
ผลการศึกษาเมื่อนำไปใส่รวมกับวัสดุปลูกที่เป็นทรายพบว่า ทรายที่มีโครงสร้างสามารถดูดซับและเก็บกักน้ำได้มากกว่า ทรายที่ไม่มีโครงสร้างเส้นใย ทำให้เกิดความชื้นในทรายได้นานกว่าการปลูกในทรายที่ไม่มีโครงสร้างเส้นใย