หลอดชีวภาพจากซังข้าวโพด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พิชญานันต์ จันทร์ฉาย, พุธิตา จำปาหอม
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เนตรนภา บัวเกษ, ถวิล วรรณวงศ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาขยะพลาสติกเกลื่อนประเทศและมีปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหนึ่งในปัญหาขยะพลาสติกของประเทศไทยคือ หลอดพลาสติก หลอดพลาสติกชิ้นเล็กๆที่ผ่านการใช้งานแล้วสามารถรวมกันเป็นขยะกองมหาศาลได้ และใช้เวลานานถึง 200 ปี ในการย่อยสลายตามธรรมชาติ ส่วนมากถูกทิ้งเกลื่อนพื้นตามสถานที่ต่างๆ และถูกนำไปกำจัดทิ้งโดยวิธีการต่างๆเช่น การนำไปกำจัดทิ้งโดยการฝังกลบ เป็นวิธีที่สะดวกแต่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพราะโดยธรรมชาติพลาสติกถูกย่อยสลายได้ยาก จึงได้มีการผลิตพลาสติกชีวภาพขึ้นเพื่อต้องการลดการใช้พลาสติกที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พลาสติกชีวภาพสามารถย่อยสลายตัวได้เองโดยตามธรรมชาติ ผู้จัดทำจึงสนใจที่จะผลิตหลอดชีวภาพจากซังข้าวโพด เนื่องจากซังข้าวโพดมีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบอยู่ถึง 45% ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการผลิตหลอดพลาสติกชีวภาพได้ และเป็นวัสดุที่สามารถหาได้ง่ายทั่วไปในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นพืชที่มีความต้องการปริมาณมากในแต่ละปี โดยมีเศษวัสดุเหลือทิ้งที่สำคัญคือ ซังข้าวโพด ซึ่งมีปริมาณเหลืออยู่ในระบบประมาณ 3.8 ล้านตันต่อปี โดยนำซังข้าวโพดมาสกัดให้ได้ผงเซลลูโลส เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนการขึ้นรูปหลอดพลาสติกชีวภาพ โดยพลาสติไซเซอร์ที่ใช้คือ ไตรเอททิลซิเตท(TEC)และกลีเซอรอล เนื่องจากสามารถเข้ากันได้ดีกับเซลลูโลส ผู้จัดทำได้ศึกษาลักษณะทางกายภาพของหลอดพลาสติกชีวภาพจากซังข้าวโพด ได้แก่ สี เนื้อสัมผัส ความโปร่งใส คุณสมบัติต่างๆ ได้แก่ ความสามารถในการดูดซับน้ำ และระยะเวลาในการย่อยสลายของหลอดพลาสติกชีวภาพจากซังข้าวโพด เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลอดพลาสติกทั่วไป พบว่าหลอดพลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากซังข้าวโพดมีคุณสมบัติคล้ายกับหลอดพลาสติกที่มีอยู่ทั่วไป สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติในระยะเวลาที่รวดเร็ว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดปัญหาขยะที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อโลกได้