การพัฒนาวัสดุดูดซับคอมโพสิตแม่เหล็กที่ใช้งานง่ายและมีประสิทธิภาพสูงในการกําจัดสีย้อม ทั้งไอออนบวกและไอออนลบในน้ํา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธนาภรณ์ โกศลกิจวงค์, ฟ้าใส คงแก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศรชัย อินทะไชย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม (โครงการ วมว.-ม.ทักษิณ)

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การปนเปื้อนของสารเคมีที่มีพิษรุนแรงในแหล่งน้ําในธรรมชาติ เป็นหนึ่งในปัญหาด้านวิกฤตด้าน สิ่งแวดล้อม สาเหตุหนึ่งคือน้ําเสียที่ปล่อยมาจากอุตสาหกรรมฟอกย้อม การวิจัยน้ีจึงได้พัฒนาวิธีการกําจัดสี ย้อม Basic Fuchsin และ Eosin yellow ที่ปนเปื้อนในน้ําโดยใช้วัสดุดูดซับคอมโพสิตได้แก่ นิกเกิล อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (NiAl-LDH) ถ่านกัมมันต์จากชานอ้อย (AC) และแมกเนไทต์ (Fe3O4) ใช้วิธีปฏิกิริยา สถานะของแข็ง (solid-state method)

จากผลการพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วย ZRD ,FT-IR ,SEM , VSM และ UV-VIS สามารถยืนยันการมี NiAl- LDH ,AC และ Fe3O4 ในวัสดุคอมโพสิต โดยสามารถแยกอนุภาคของแข็ง AC@NiAl-LDH@Fe3O4ด้วยแท่ง แม่เหล็กภายนอกได้ภายใน 10 วินาที เมื่อนํามาทดสอบประสิทธิภาพการกําจัดสีย้อม Basic Fuchsin และ Eosin yellow (100 ppm) พบว่าวัสดุคอมโพสิตแม่เหล็กสามารถกําจัดสีย้อมไอออนบวก(Basic Fuchsin) และไอออนลบ(Eosin yellow)ได้100% และสามารถแยกอนุภาคตัวดูดซับได้ง่าย เนื่องจากผลของ AC@NiAl-LDH@Fe3O4 ดังนั้นงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวัสดุดูดซับอัจฉริยะเพื่อบําบัดน้ําเสียจากสีย้อม อเนกประสงค์