การศึกษาประสิทธิภาพแผ่นดูดซับตะกั่วในน้ำเสียจากอุตสาหกรรมด้วยเส้นใยฟางข้าวที่ปรับสภาพผิวด้วยเอนไซม์แลคเคส
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วราทิพย์ อาจฤทธิ์, ธนภรณ์ ไทรพงษ์พันธุ์, นางสาวปิยธิดา สุขนิรัญ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นันทวัน ศรชัย, สวิชญา เหลาโชติ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นดูดซับตะกั่วในน้ําเสียสังเคราะห์จากเส้น ใยฟางข้าวที่ผ่านการปรับสภาพผิวด้วยเอนไซม์แลคเคสทสี่กัดจากทะลายปาล์มโดยใช้เชื้อราขาวที่ หมักด้วยวิธี solid state fermentation โดยได้ทําการศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับตะกั่วของ เส้นใยฟางข้าวที่ผ่านการปรับสภาพผิวด้วยเอนไซม์แลคเคสในปริมาณที่แตกต่างกัน 4 ปริมาณ แบ่งเป็น 12 การทดลอง โดยการทดลองที่ 1-3 ใช้เอนไซม์แลคเคส 0 มิลลิลิตร ปรับสภาพผิวเส้น ใยเป็นเวลา 32 ชั่วโมง 20 นาที , 47 ชั่วโมง 25 นาที และ 71 ชั่วโมงตามลําดับ การทดลองที่
4-6 ใช้เอนไซม์แลคเคส 2 มิลลิลิตร ปรับสภาพผิวเส้นใยเป็นเวลา 32 ชั่วโมง 20 นาที , 47 ชั่วโมง 25 นาที และ 71 ชั่วโมงตามลําดับ การทดลองที่ 7-9 ใช้เอนไซม์แลคเคส 5 มิลลิลิตร ปรับสภาพ ผิวเส้นใยเป็นเวลา 32 ชั่วโมง 20 นาที , 47 ชั่วโมง 25 นาที และ 71 ชั่วโมงตามลําดับ และการ ทดลองที่ 10-12 ใช้เอนไซม์แลคเคส 8 มิลลิลิตร ปรับสภาพผิวเส้นใยเป็นเวลา 32 ชั่วโมง 20 นาที , 47 ชั่วโมง 25 นาที และ 71 ชั่วโมงตามลําดับ แล้วนําเส้นใยฟางข้าวที่ผ่านการปรับสภาพผิวด้วย เอนไซม์แลคเคสแล้วมาทําการขึ้นรูปเป็นแผ่นดูดซับโดยผสมกับแป้งเปียก นําไปอัดให้แน่นด้วย เครื่องอัด pneumatic, heated เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคงรูปของแผ่นดูดซับ จากนั้นนํามา ทดสอบความทนทานด้วยเครื่องวัดแรงดึง แรงกด (Push pull gauge) และ นําไปทดสอบ ประสิทธิภาพการดูดซับตะกั่วในน้ําเสียสังเคราะห์เป็นเวลา 2 ชั่วโมง 30 นาที จากนั้นนําน้ําไป ตรวจหาปริมาณตะกั่วด้วยเทคนิคเฟลมอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปคโทรโฟโตเมทรี (Flame Atomic Absorption Spectroscopy)