การวิเคราะห์ความคงตัวทางความร้อนและการพัฒนาเครื่องหั่นสมุนไพรไทยสำหรับธุรกิจสร้างใหม่
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วรดร สิงห์แก้ว, สิริลักษณ์ ดอกเทียน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชุลีพร ศรีพิทักษ์, จักรพล วิเศษสมิต
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การออกแบบเครื่องจักรและการสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว กลไกและการวิเคราะห์ทางอุณหพลศาสตร์ของเครื่องตัดสมุนไพรไทยมีความจำเป็น เนื่องจากการทำงานของมอเตอร์ขัดข้อง ซึ้งเกิดจากการเผาไหม้ที่อุณหภูมิแวดล้อมสูงระหว่างการทำงาน ใช้แรงงานมาก เสียเวลา และปัญหาอื่นๆ ที่เกิดจากการตัดด้วยมือ สมุนไพรไทย อาทิ ตะไคร้ ต้นข่าอ่อน และกระชาย โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยวัสดุที่ใช้สำหรับการออกแบบนั้นมาจากท้องถิ่นทำจาก stainless steel และมอเตอร์พัดลมที่ได้มาตรฐานจาก มาตรฐานระบบการผลิตอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก) และมาตรฐานสากล (ISO และ IEC) โดยมีข้อกำหนดของการออกแบบเครื่องหั่นสมุนไพรดังต่อไปนี้ ใบมีดคัตเตอร์ขนาดต่างๆ กันสามขนาดกับเลือกตัวอย่างสมุนไพรไทยสามชนิด สำหรับการทดสอบทางกลศาสตร์ การประมาณค่าพารามิเตอร์และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของแบบจำลองสำหรับการควบคุมการดำเนินงานให้เหมาะสม เกณฑ์สำหรับความคงตัวหรือเสถียรภาพทางความร้อนและการทดสอบการจำลอง อัตรามอเตอร์กระแสสลับ 0.25 แรงม้า เฟสเดียว ความเร็วมอเตอร์ 1,450 รอบต่อนาที วิเคราะห์กำลังการผลิตกับการใช้ใบมีดสามขนาดสำหรับหั่นสมุนไพรสดสามชนิดที่อุณหภูมิสิ่งแวดล้อมไม่เกิน 40 องศาเซลเซียสในระหว่างการดำเนินงาน การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเรียนรู้ของเครื่อง (ML) และการเรียนรู้เชิงลึก (DL) เพื่อการตรวจวัดเฝ้าระวังติดตาม คาดการณ์ และการบำรุงรักษาจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นและยืดอายุการใช้งานของมอเตอร์ ตามลำดับ จากการศึกษานี้พบว่า ประสิทธิภาพเชิงปริมาตรและปริมาณการหั่นตะไคร้ ข่า และกระชายอยู่ที่ประมาณ 9.5, 13.2 และ 14.0 กิโลกรัมต่อชั่วโมง โดยใช้ใบมีดขนาดต่างกัน ตามลำดับ และยังสามารถลดอุณหภูมิของมอเตอร์ได้ 1-2 องศาเซลเซียส โดยใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการตรวจวัดเฝ้าระวังติดตาม และการเรียนรู้ของเครื่อง (ML) สำหรับพยากรณ์ ณ อุณหภูมิแวดล้อมระหว่าง 26-34 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ หากผู้ประกอบการธุรกิจสร้างใหม่ประสบปัญหาที่เกิดขึ้นในขดลวดทองแดงของมอเตอร์ สามารถประเมินความเสียหายของขดลวดทองแดงในมอเตอร์โดยใช้ algorithms Convolutional Neural Network (CNN) ของการเรียนรู้เชิงลึก (DL) สำหรับการตรวจจับและวิเคราะห์ขนาดของรอยไหม้ ความเสียหาย และสามารถประเมินค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงให้กับมอเตอร์ของเครื่องหั่นสมุนไพรได้
คำสำคัญ: เครื่องหั่นสมุนไพรไทย เสถียรภาพทางความร้อน ปัญญาประดิษฐ์ การเรียนรู้ของเครื่อง การเรียนรู้เชิงลึก ผู้ประกอบการธุรกิจสร้างใหม่