ผลของชนิดและปริมาณน้ำมันต่อสมบัติแผ่นยางธรรมชาติเพื่อเตรียมแผ่นผิวหนังเทียมสำหรับฝึกปฏิบัติทางการแพทย์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อรอนงค์ อรุณรัตนวงศ์, วนัชพร ลำพรหมแก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ตุลยพงษ์ ตุลยพิทักษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ยางพาราเป็นพืชที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย ปัจจุบันไทยผลิตและส่งออกยางธรรมชาติมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่ผลิตภัณฑ์การส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในการแปรรูปขั้นต้นที่มีมูลค่าต่ำ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ภายในประเทศก็ไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งมีผลต่อการสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศและการยกระดับรายได้ของเกษตรกร อีกทั้งการฝึกปฏิบัติทางการแพทย์จำเป็นต้องนำเข้าหนังเทียม โดยวัตถุดิบหลักคือซิลิโคนมีราคาค่อนข้างสูง ทางกลุ่มจึงเล็งเห็นปัญหานี้ ที่จะนำน้ำยางธรรมชาติผ่านการคอมพาวด์มาทำแผ่นยางธรรมชาติ โดยจากการศึกษารวบรวมข้อมูลพบว่าน้ำมันมีผลต่อสมบัติเชิงกลของยางทำให้ยางมีความยืดหยุ่น อ่อนนุ่มขึ้น ทางกลุ่มจึงศึกษาชนิดและปริมาณน้ำมันที่นำมาใช้ในการผสมน้ำยางเพื่อขึ้นรูปเป็นแผ่นยางธรรมชาติ มีทั้งหมด4ชนิด คือ น้ำมันพาราฟินิก (paraffinic oil), น้ำมันขาว (white oil), น้ำมันถั่วเหลือง (soybean oil) และ น้ำมันดอกทานตะวัน (sunflower oil) ว่ามีผลอย่างไรต่อสมบัติแผ่นยางธรรมชาติที่ได้ การทดสอบคุณสมบัติจะทดสอบสมบัติความแข็ง ความทนทานต่อแรงดึงและการฉีกขาด ระยะยืดขาด 200% มอดุลัส และความทนทานต่อการกรีดด้วยมีดผ่าตัด โดยคาดว่าหากผลิตภัณฑ์จากการศึกษาโครงงานนี้สามารถนำไปฝึกปฏิบัติทางการแพทย์ได้จริง จะสามารถลดการนำเข้าหนังเทียมและเพิ่มการแปรรูปยางพาราในประเทศได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำในประเทศ