แผ่นปิดแผลเซลลูโลสขนาดนาโนจากใบสับปะรดผสมสารสกัดจากใบสาบเสือ และว่านหางจระเข้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ตติยา ตาระบัตร, พิชญา ศรีบุรินทร์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
น้ำผึ้ง สุพรมอินทร์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันการรักษาบาดแผลที่ไม่ลึกมาก เช่น แผลถลอกจากอุบัติเหตุหรือแม้แต่ไฟไหม้ น้ำร้อนลวกที่พบได้ค่อนข้างบ่อยที่มาพบแพทย์ ซึ่งแพทย์มักจะนัดผู้ป่วยมาล้างแผลอย่างต่อเนื่องทุกวัน และต้องเปลี่ยนวัสดุปิดแผลทุกวันจนกว่าแผลนั้นจะหายสนิท ข้อเสียของวิธีนี้คือ ผู้ป่วยอาจต้องลางาน ขาดงานมาทําแผลทุกวัน สิ้นเปลืองทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งถ้าแผลไม่ลึกมากการเปลี่ยนวัสดุปิดแผลบ่อยๆ อาจทําให้เลือดออกมากขึ้นและแผลหายได้ช้า แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทําให้ผู้บาดเจ็บมีทางเลือกในการรักษาแผลมากขึ้น โดยเฉพาะบาดแผลจากอุบัติเหตุไฟไหม้น้ำร้อนลวกระดับตื้นๆ และบาดแผลถลอกที่ไม่ลึกมาก โดยจะใช้การรักษาด้วยวัสดุปิดแผลชนิดพิเศษ ทําให้ไม่ตองไปทําแผลทุกวัน ไม่จําเป็นต้องเปลี่ยนวัสดุปิดแผลทุกวัน และลดความเจ็บปวดระหว่างการทําแผลได้อีกดีด้วย ถึงแม้จะมีแผ่นปิดแผลเข้ามามีบทบาทและช่วยอํานวยความสะดวก แต่อย่างไรก็ตามการดูแลหลักๆก็ยังต้องเป็นหน้าที่ของแพทย์และพยาบาล โดยแพทย์จะนัดคนไข้มาล้างแผลและเปลี่ยนแผ่นปิดแผลใหม่ทุกๆ 3 วัน จนกว่าแผลจะหายและดีขึ้น รวมทั้งอาจสอนวิธีการใช้แผ่นปิดแผลแก่คนไข้ที่มีบาดแผลเล็กๆกลับไปทําเองที่บ้าน ซึ่งนับว่าเป็นทางเลือกใหม่สําหรับผู้มีบาดแผลตื้นๆ เป็นการประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในครอบครัว แต่ในปัจจุบันนั้นได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับวัสดุปิดแผลมากมายและราคาวัสดุปิดแผลในปัจจุบันยังมีราคาถูกกว่าในอดีตอย่างมาก ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีดังนี้