บรรจุภันฑ์เก็บรักษาข้าวเปลือกจากใบสักเคลือบด้วยน้ำหมักตะโกนายับยั้งเชื้อรา Fusarium sp. ในข้าวเปลือก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จิตรา พ่วงชัง, นศิตา นาคสนิท, พัณณิตา จริยภิวัฒน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จุฑาลักษณ์ ขุนภักดี, ชนชนก เขียวมงคล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ข้าวเป็นอาหารหลักที่คนไทยนำมารับประทาน และนอกจากข้าวจะเป็นอาหารหลักของคนไทยแล้ว ข้าวยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ในแต่ละปีเราสามารถส่งออกข้าวได้เป็นจำนวนมาก แต่การเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกไว้รับประทาน เก็บไว้เป็นพันธุ์ข้าวในฤดูทำนาถัดไป หรือการเก็บรักษาข้าวเพื่อการส่งออกนั้น มักประสบปัญหาการเกิดเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคในข้าว โดยจากรายงานการวิจัยเรื่อง การทดสอบประสิทธิภาพของสมุนไพรและจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการกำจัดเชื้อที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าว ของรองศาสตราจารย์ ดร.นุชนารถ จงเลขา และคณะพบว่า เชื้อรา Fusarium sp. เป็นเชื้อราที่พบมากในข้าวพันธุ์สันป่าตอง ๑ ซึ่งเชื้อรา Fusarium sp. ที่ติดไปกับเมล็ดข้าว จะทำให้เมล็ดข้าวเกิดความเสียหาย มีเปอร์เซ็นต์การงอกต่ำ การแก้ไขปัญหาของเกษตร หรือพ่อค้าที่เก็บรักษาข้าวเปลือกไว้ขาย มักใช้สารเคมีซึ่งเป็นสารควบคุมศัตรูพืช มาคลุกหรือเคลือบเมล็ดข้าวป้องกันเชื้อราแต่วิธีการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพเกษตรกรผู้ใช้ และมีสารตกค้างส่งต่อถึงผู้บริโภคข้าวได้
กลุ่มของคณะผู้จัดทำโครงงานเล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจึงคิดที่จะศึกษาหาสารสกัดจากพืชธรรมชาติได้แก่ ใบสัก ซึ่งตามรายงานการวิจัยของต่างประเทศพบว่าสามารถยับยั้งเชื้อรา Arthrinium phaeospermum (Corda) M.B. Ellis ได้ โดยจะทำการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากใบสักในการยังยั้งเชื่อรา Fusarium sp. นำสารสกัดจากบสักดังกล่าวไปพัฒนาเป็นสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกป้องกันเชื้อรา และศึกษา หาแนวทางในการเก็บรักษาพันธุ์ข้าวเปลือกโดยการผลิตบรรจุภัณฑ์เก็บรักษาเมล็ดข้าวเปลือกเคลือบด้วยน้ำหมักตะโดกนา เพื่อให้ข้าวเปลือกไม่มีเชื้อรา และสามารถเก็บรักษาข้าวเปลือกให้เก็บได้นาน ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกร และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม