การศึกษาประสิทธิภาพของผักเคียงในการลดกรดในกระเพาะอาหาร

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

คณิศร ช่วยสร้าง, วีรวัฒน์ บุญโสภาศ, ธนกฤต อาจมีแก้ว

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พชรมน รักษทิพย์, กาญจนาภรน์ ชูช่วย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

คนไทยใช้ผักเป็นส่วนประกอบในการรับประทานอาหาร จนเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของคนไทย นอกจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพแล้ว ผักหลายชนิดยังสามารถลดกรดในกระเพาะอาหารได้ ผู้จัดทำโครงงาน มีความประสงค์จะทำการศึกษาประสิทธิภาพในการลดกรดในกระเพาะอาหารโดยเลือกผักเคียงที่เป็นที่นิยมรับประทานของคนไทยมาจำนวน 13 ชนิด คือ ถั่วฝักยาว แตงกวา ยอดเขลียง ยอดหมุย ใบแมงลัก ยอดกระถิน ยอดชะอม ลูกเนียงเพาะ สะตอดอง ใบมะรุม สะตอสด ยอดมันปู ยอดมะม่วงหิมพานต์ โดย ๑) ศึกษาความเป็นกรด เบส ของผักเคียงทั้ง 13 ชนิด พบว่า ผักเคียงทุกชนิดมีความเป็นกรดอ่อน โดยยอดชะอมมี pH สูงสุดที่ 6.8 ๒) ศึกษาประสิทธิภาพในการลดกรดในกระเพาะอาหาร โดยใช้กรด HCl pH 2.2 เป็นตัวแทนของกรดในกระเพาะอาหาร ทำปฏิกิริยากับ ผักเคียงปั่นละเอียด , สารสกัดจากผักเคียง , ผักเคียงแห้งบดละเอียด พบว่า ผักเคียงทุกสภาพ มีประสิทธิภาพในการลดความเป็นกรด ( เพิ่ม pH) ของสารละลายกรด HCl ได้ โดยยอดชะอมมีประสิทธิภาพในการลดกรดได้ดีที่สุด ดังนั้นการเลือกรับประทานผักเคียง จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นกรด เบส ของแต่ละคน ดังนี้คือ คนที่ มีความเป็นกรด ในกระเพาะมาก ก็ควรรับประทานผักเคียงที่มีประสิทธิภาพในการลดกรดได้ดีเช่นยอดชะอม แต่คนที่มีความเป็นกรด เบสปกติ ไม่ควรรับประทาน ผักที่ลดกรดได้มาก เพราะอาจทำมีผลต่อความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้