การควบคุมโรคของต้นกล้ายางพาราโดยใช้เชื้อรา Trichoderma spp.

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปริยากร ศิรินิกร, พรบุญญา สิงห์สู่ถ้ำ, บุปผชาติ ป้องบุญจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

อาริศรา อรรคษร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ ผลการศึกษาพบว่าโรคที่เกิดกับต้นกล้ายางพารานั้นมีสาเหตุมาจากเชื้อราสาเหตุโรค โดยเชื้อราสามารถเข้าไปทำลายทุกส่วนของต้นยางพาราได้ ทำให้ผลผลิตลดลง โดยทั่วไปเกษตรกรจะใช้สารเคมีในการลดการระบาดของโรค ซึ่งอาจทำให้เกิดการตกค้างของสารพิษในพืชและสภาพแวดล้อมรวมถึงเกษตรกร อีกทั้งยังเป็นการยังทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จากการศึกษาพบว่าในดินบริเวณที่ปลูกต้นยางพารานั้นมีเชื้อรา Trichoderma spp. ซึ่งสามารถต่อต้านเชื้อสาเหตุโรคพืชได้ คณะผู้จัดทำจึงได้สนใจศึกษาการควบคุมโรคของต้นกล้ายางพาราโดยใช้เชื้อรา Trichoderma spp. เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวโดยมีจุดประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาประสิทธิภาพของการยับยั้งเชื้อรา Trichoderma spp. จากดินที่ปลูกต้นยางพารา พันธุ์ RRIM 600 ที่มีผลต่อเชื้อรา Collectotrichum spp. ที่เป็นสาเหตุของโรคใบจุด 2)ตรวจสอบความมีชีวิตของเชื้อรา Trichoderma spp. ด้วยการทดสอบประสิทธิภาพการครอบครองพื้นที่ 3)เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพของการยับยั้งโดยใช้เชื้อรา Trichoderma spp. จากดินที่ปลูกต้นยางพารา พันธุ์ RRIM 600และการใช้สารเคมี ที่มีผลต่อเชื้อรา Collectotrichum spp. ที่เป็นสาเหตุของโรคใบจุด ผลการศึกษาพบว่า เมื่อนำเชื้อรา Trichoderma spp. มาควบคุมโรคของต้นกล้ายางพารา พบว่า 1) ถ้าเชื้อรา Trichoderma spp. จากดินบริเวณที่ปลูกต้นยางพารา พันธุ์ RRIM จะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อรา Collectotrichum spp. ที่เป็นสาเหตุของโรคใบจุด 2) ถ้าเชื้อรา Trichoderma spp.จากดินบริเวณที่ปลูกต้นยางพารา พันธุ์ RRIM 600 จะมีประสิทธิภาพในการครอบครองพื้นที่ผิวใบและเนื้อเยื่อใบ 3) ถ้าเชื้อรา Trichoderma spp. จากดินบริเวณที่ปลูกต้นยางพารา พันธุ์ RRIM 600 จะมีประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อรา Collectotrichum spp. ที่เป็นสาเหตุของโรคใบจุด เช่นเดียวหรือมากกว่าการใช้สารเคมี