การผลิตสารตั้งต้น (CMC) ในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีความสามารถในการขจัดคราบสกปรกจากลังกระดาษเหลือใช้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พีรดา สอนพิมพ์สัมผัส, ธนพร ชมทะเล, เมรินทร์ พัตตานิชานนท์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนบดี ชาญขุนทด, นันทวัฒน์ จิระวัฒนพงศ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เพื่อผลิตสารตั้งต้นหรือซีเอ็มซีที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด จากใช้ลังกระดาษเหลือใช้ในชีวิตประจำวันและ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่สามารถใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ดังนั้น กลุ่มผู้วิจัยจึงคิดว่าถ้าสามารถนำลังกระดาษที่เหลือใช้มาผลิตเป็น CMC ที่ใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดได้ ถึงจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตและเป็นการใช้วัสดุเหลือใช้มาแปรรูปให้เกิดประโยชน์เพิ่มมากขึ้น โดยการนำลังกระดาษเหลือใช้มาปั่นให้ละเอียด แล้วตากให้แห้ง นำกระดาษมาใส่ในโซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 0.5 mol/dm3 ที่อุณหภูมิ 70oC จากนั้นให้ความร้อนต่อนาน 4 ชั่วโมง แล้วนำไปอบในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 80oC เป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำกระดาษไปทำปฏิกิริยากับกรดคลอโรอะซิติกในไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 10% W/V และ โซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 40% W/V ในอัตราส่วนสารเคมี 1 : 1 นาน 30 นาที โดยนำไปอบในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 55 oC เป็นเวลา 4 ชั่วโมง นำของเหลวที่ได้มาแยกส่วนที่เป็น สารละลาย และ ของเหลวลักษณะคล้ายเจล ออกจากกัน จากนั้นนำของเหลวทั้งหมดมาระเหยในอ่างน้ำร้อนจนได้ของแข็งสีขาว แล้วนำของแข็งที่ได้มาทดสอบด้วยไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ และไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 40% V/V นาน 5 นาที เพื่อทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพเบื้องต้นของสารที่ได้ พบว่าของแข็งสีขาวมีคุณสมบัติเบื้องต้นของ CMC จากการละลายในไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ความเข้มข้น 40% V/V จากนั้นจึงนำไปสร้างผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเพื่อทำการเปรียบเทียบ ระดับความสามารถในการขจัดคราบสกปรก พบว่าผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใส่ CMC มีความสามารถในการขจัดคราบสกปรกอยู่ในระดับที่ 1