ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าฝ้ายย้อมดินบ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สิทธิโชค เพ็งมา, ศุภวิชญ์ กาวิละบุตร, ปุญญวัชร์ ชัยรักษา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วันเพ็ญ ยิ้มประดิษฐ์, คำมี ชัยรักษา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กลุ่มของข้าพเจ้าได้เข้าไปศึกษากระบวนการทำผ้าฝ้ายย้อมดินในทุกขั้นตอน ได้ความรู้และหัดทำตามกระบวนการต่างๆ และสิ่งที่กลุ่มของข้าพเจ้ามีความเห็นว่า กระบวนการย้อมเส้นด้ายด้วยดินในชุมชนบ้านวังหาดก่อนจะนำเส้นด้ายที่ผ่านการย้อมไปทอผ้าฝ้าย เป็นสิ่งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมดินบ้านวังหาดมีเฉดสีที่สวยงาม แต่อยู่ในโทนสีส้มถึงสีน้ำตาลเข้ม การย้อมเส้นด้ายแต่ละครั้งได้สีไม่เหมือนกันและสีไม่ตรงตามความต้องการ เมื่อต้องการสีสันที่นอกเหนือจากนี้จะนำเส้นด้ายไปย้อมสีสังเคราะห์ซึ่งเป็นอันตรายและหลังจากย้อมเสร็จสิ้นน้ำทิ้งจากการย้อมเส้นด้ายด้วยสีสังเคราะห์ที่เหลือเมื่อปล่อยสู่ธรรมชาติจะมีสารเคมีตกค้างได้ กลุ่มของข้าพเจ้า จึงต้องการศึกษาและพัฒนาเฉดสีของเส้นด้ายที่ย้อมด้วยดินในชุมชนบ้านวังหาดร่วมกับสีที่สกัดจากพืชที่มีในชุมชน เช่น ใบสัก ใบมะม่วง เปลือกเพกา ขมิ้น

สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ ลดการใช้สีสังเคราะห์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเดิมภูมิปัญญาการย้อมเส้นด้ายจากดินไม่มีการใช้สารเคมี น้ำย้อมดินที่เหลือปล่อยลงสู่ผืนดิน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอนี้ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น สามารถสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ สร้างความเชื่อมั่น และการยอมรับในระดับสากลของผ้าทอพื้นเมืองไทย เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพและอัตลักษณ์ให้กับชุมชนต่อไป

ซึ่งโครงงานนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดนวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 34 ประจำปี 2566 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร และได้รับคำชี้แนะจากคณะกรรมการให้ศึกษาและพัฒนาต่อในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากภูมิปัญญานี้เป็นการย้อมเย็น ไม่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าในขั้นตอนการผลิต ไม่มีการเผาไหม้ในการต้มและไม่มีการปลอดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่อากาศ ใช้สารเคมีจากธรรมชาติและสอดคล้องกับหลักการเคมีสีเขียว