แบบจำลองหอคอยฟอกอากาศเพื่อลดฝุ่นละออง PM2.5 โดยใช้เครื่องสร้างประจุลบ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พรปวีย์ เหมิกจันทึก, ภัทรภรณ์ ภูวนา, กัญญาลักษณ์ ภักดีวงศ์ษา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สมเกียรติ แก้ววิเวก, ชนัญชิดา โครมกระโทก
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง “แบบจำลองหอคอยฟอกอากาศเพื่อลดฝุ่นละออง PM2.5 โดยใช้เครื่องสร้างประจุลบ” เป็นผลงานที่เกิดจากการได้พบข่าวสารเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิง การเผาป่าหรือการเผาไหม้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือที่เรียกกันว่า “PM2.5” ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบกับสุขภาพของเราเป็นอย่างยิ่ง คณะผู้จัดทำจึงมีความคิดที่จะหาแนวทางในการลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 จากการศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ของรุ่นพี่ที่ได้ศึกษา เรื่อง “การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องดูดควันตะกั่วจากการบัดกรีโดยใช้เครื่องสร้างประจุลบ” พบว่าเครื่องสร้างประจุลบสามารถลดปริมาณควันตะกั่วจากการบัดกรีได้ ซึ่งควันตะกั่วจากการบัดกรีประกอบด้วยไอระเหยของตะกั่ว และควันจากการเผาไหม้ของสารที่ผสมอยู่ในตะกั่วบัดกรี จากการศึกษาดังกล่าวทำให้เรามีแนวความคิดที่นำเครื่องสร้างประจุลบมาใช้ในการลดปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 ที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงและการเผาไหม้อื่นๆ ทั่วไป
จากผลการศึกษาดังพบว่าการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องสร้างประจุลบโดยใช้ตะแกรง จะสามารถช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศได้ เนื่องจากเครื่องสร้างประจุลบ มีหลักการปล่อยประจุไฟฟ้า เพื่อแยก เชื้อโรค ฝุ่น ควัน ให้ออกจากอากาศ ทำให้อากาศภายในห้อง กลายเป็นอากาศบริสุทธิ์ โดยประจุไฟฟ้าลบ จับตัวกับฝุ่นละอองซึ่งเป็นประจุไฟฟ้าบวก จะกลายเป็นกลางและตกลงสู่พื้นดินอากิระ ยามาโมโต้ (2555) และ คณะ ได้ทำสิ่งประดิษฐ์ฟอกอากาศ โดยมีเครื่องกำเนิดไอออน ซึ่งจะแพร่กระจายไอออนอย่างมีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฟอกอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับ รศ.ดร.ศิศีโรตม์ เกตุแก้ว (2562) กล่าวว่า เครื่องฟอกอากาศที่ใช้ระบบไฟฟ้าสถิต จะทำหน้าที่กรองอากาศผลิตโอโซน ลดกลิ่นเหม็น กำจัดก๊าซพิษ และควันบุหรี่ รวมถึงกำจัดเชื้อโรคในอากาศ และ วีระศักดิ์ จันทนนท์(2556) ได้ทำการวิจัยการพัฒนาเครื่องฟอกอากาศในระบบปรับอากาศโดยใช้ระบบประจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นการติดตั้งที่ให้ประสิทธิภาพการปรับปรุงคุณภาพของอากาศที่สูงที่สุด