การพัฒนาถุงใส่มือถือจากเปลือกทุเรียน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นิตย์รดี วิชัยยา, ปพนวัฒน์ เชี่ยวรุ่งโรจน์, ชาติปวีณ์วัศ สมสุขสวัสดิ์กุล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สอาด ริยะจันทร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในประเทศไทยมีการปลูกทุเรียนจำนวนมาก ในการนำทุเรียนไปแปรรูปจำเป็นต้องลอกเปลือกออกก่อน ทำให้มีเปลือกทุเรียนเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก การกำจัดเปลือกทุเรียนนั้นทำได้หลายวิธี เช่น การเผา การนำไปทำปุ๋ยหมัก การนำไปประยุกต์เป็นวัสดุต่างๆ ผู้วิจัยจึงมีความคิดที่จะไปทำเป็นถุงใส่มือถือโดยใช้เปลือกทุเรียนเป็นวัสดุตั้งต้น และปรับปรุงให้มีคุณสมบัติคือ ต้านทานต่อน้ำ ต้านทานแบคทีเรีย และมีกลิ่นหอม วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาและพัฒนาถุงใส่มือถือจากเปลือกทุเรียนที่มีกลิ่นหอมและสามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย โดยนำเปลือกทุเรียนแห้งมาย่อยโดยใช้กรดซัลฟิวริค ดีเกรดด้วย SM แล้วทำการเติมประจุ DL จากนั้นผสมกับยางพาราและนำแป้งสุก จากผลการทดลองพบว่า เซลลูโลสที่ย่อยด้วยกรดซัลฟิวริค 12 กรัม ดีเกรดด้วย SM 1 กรัม และเติมประจุ DL 1.0 กรัม เหมาะสมที่จะนำไปผสมกับยางพารามากที่สุด และเซลลูโลสที่ผสมกับแป้งและยางพาราโดยใส่เซลลูโลส 66 กรัม เหมาะสมที่จะนำไปพัฒนาเป็นถุงใส่มือถือมากที่สุด