การเปรียบเทียบปริมาณกรดแอสคอร์บิกในเนื้อเยื่อใบและรากต่อการทนทานสภาวะแล้งในมันสำปะหลัง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ฐิติวรดา สุ่มติ๊บ, นันทกา ควรเฉลย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วิภาวี ศรีหานนท์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปรียบเทียบปริมาณกรดแอสคอร์บิกในใบและรากต่อความทนทานสภาวะแล้งของใบมันสำปะหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความทนทานสภาวะแล้งของมันสำปะหลังโดยในการทดลองนี้ใช้มันสำปะหลังจำนวน 7 สายพันธุ์ ได้แก่ MEuc33, CM3306-4, SM1141-5, No.13, MMal33, MEcu72 และ KU50 มีวิธีดำเนินการทดลอง โดยปลูกมันสำปะหลังแต่ละสายพันธุ์ในโรงเรือนที่ควบคุมอุณหภูมิและช่วงเวลาการให้น้ำเป็นเวลา 2 เดือน จากนั้นหยุดให้น้ำกับต้นมันสำปะหลังเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เก็บตัวอย่าง2 ชนิด ได้แก่ใบและรากของมันสำปะหลังแต่ละสายพันธุ์ มาสกัดด้วยน้ำเปล่า จากนั้นนำสารสกัดที่ได้มาไทเทรตด้วยสารละลายไอโอดีนผสมน้ำแป้ง เพื่อวัดปริมาณของกรดแอสคอร์บิก โดยความทนทานต่อสภาวะแล้งจะแปรผันตรงต่อปริมาณกรดแอสคอร์บิก จากการศึกษา พบว่า สายพันธุ์ที่มีปริมาณกรดแอสคอร์บิกมากที่สุด คือ MEuc33 จึงสรุปได้ว่าสายพันธุ์ MEuc33 เหมาะสมต่อการเพาะปลูกในสภาวะแล้ง