ฤทธิ์ของสารสกัดจากมะกรูด เพื่อช่วยลดปริมาณ ROS ใน Caenorhabditis elegans ที่ถูกชักนำให้เกิดภาวะ oxidative
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พชร มีศิลป์, จิรชัย จริยะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐพงศ์ นพโลหะ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ภาวะโรค Neurodegenerative diseases (NDD) เป็นภาวะที่เกิดจากการทำงานของเซลล์ประสาทผิดปกติ
โดยเฉพาะในระบบประสาทส่วนกลาง ในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการของโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยสาเหตุที่สำคัญของโรคกลุ่มนี้คือการเกิดภาวะ oxidative stress ที่ทำให้ร่างกายมีปริมาณของสารอนุมูลอิสระไม่สมดุล ซึ่งยาที่ใช้รักษาโรคในกลุ่ม NDD มีการพัฒนาไปอย่างน้อยมาก ทางคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำมะกรูดที่มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระมาทดสอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบมะกรูดและผิวมะกรูด ในการช่วยลดการเกิดภาวะ oxidative stress สำหรับการช่วยยืดอายุของ C. elegans ที่ถูกชักนำให้เกิดภาวะ oxidative stress โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากมะกรูดต่อ E.coli OP50 ที่เป็นอาหารของ C. elegans ตอนที่ 2 การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบมะกรูดและผิวมะกรูดที่มีผลต่อการรอดชีวิตของ C. elegans ที่ถูกชักนำให้เกิดภาวะ oxidative stress ตอนที่ 3 การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบมะกรูดและผิวมะกรูดต่อการยับยั้งปริมาณ ROS ของ C. elegans ที่ถูกชักนำให้เกิดภาวะ oxidative stress และตอนที่ 4 ศึกษากลไกลการทำงานของสารสกัดจากใบมะกรูดและผิวมะกรูดในการช่วยลดการเกิดภาวะ oxidative stressโดยผลสรุปเชื่อว่าสารสกัดจากใบมะกรูดและผิวมะกรูดสามารถช่วยในการลดการเกิดภาวะ oxidative stress ใน C. elegans ได้ ซึ่งมีโอกาสที่จะนำไปใช้เป็นสมุนไพรในการช่วยรักษาโรคทางด้าน Neurodegenerative diseases ในอนาคตต่อไปได้