การพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ที่เสริมแรงด้วยเส้นใยธรรมชาติร่วมกับเปลือกไข่ เพื่อประยุกต์ใช้เป็นแผ่นดูดซับสารฟอสเฟตในแหล่งน้ำ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนรัชต์ ลี้เกรียงไกร, ศุภกฤต ซังขาว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ขุนทอง คล้ายทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ซีเมนต์มีหลายชนิดทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานประเภทของซีเมนต์ได้ตรงกับลักษณะการใช้งาน โดยซีเมนต์ที่ใช้ในบ่อน้ำนั้นทำให้มีสารฟอสฟอรัสที่อยู่ในรูปฟอสเฟตอยู่มาก โดยปัจจุบันปัญหามลพิษในน้ำของประเทศไทยส่วนหนึ่งเกิดจากฟอสฟอรัสซึ่งเกิดจากมูลสัตว์,ปุ๋ย,การซักล้างในครัวซึ่งเป็นธาตุอาหารสำคัญของพืชโดยฟอสฟอรัสที่เยอะเกินไปจะส่งผลกระทบให้เกิดปรากฏการณ์ยูโทรฟิเคชันคือพืชน้ำจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและหนาแน่นส่วนใหญ่เกิดในแหล่งน้ำปิดทำให้เป็นปัญหาในการเลี้ยงสัตว์น้ำในแหล่งน้ำปิดเช่นบ่อซีเมนต์เพราะทำให้สัตว์น้ำส่วนใหญ่ไม่สามารถอยู่อาศัยได้งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์เพื่อประยุกต์ใช้เป็นแผ่นดูดซับฟอสเฟต คณะผู้จัดทำจึงสนใจในการทำแผ่นไฟเบอร์ดูดซับฟอสเฟตที่เสริมแรงด้วยเส้นใยธรรมชาติและเปลือกไข่ เส้นใยธรรมชาติที่คณะผู้จัดทำสนใจคือกัญชงเพราะมีความแข็งแรงสูงผักตบชวาเพราะเส้นใยดูดซับน้ำได้ดีธูปฤาษีทนต่อแรงดึงได้ดีกากมะพร้าว ไข่มีสมบัติคือเแคลเซียมคาร์บอเนตอยู่ และเมื่อนำไปเผาจะมีความสามารถในการดูดซับฟอสเฟตมากขึ้นเพื่อศึกษาหาชนิดและปริมาณเส้นใยธรรมชาติที่เหมาะสมต่อการผลิตไฟเบอร์ซีเมนต์เพื่อศึกษาหาชนิดและปริมาณเปลือกไข่ที่เหมาะสมต่อการผลิตไฟเบอร์ซีเมนต์เพื่อศึกษาหาประสิทธิภาพของแผ่นไฟเบอร์ที่มีส่วนผสมของเปลือกไข่ในการดูดซับฟอสเฟตโดยทำไฟเบอร์ซีเมนต์ที่ใช้ชนิดและปริมาณเส้นใยที่ต่างกันและนำไปทดสอบประสิทธิภาพ จากนั้นนำไปผสมเปลือกไข่ที่ต่างชนิดและปริมาณจากนั้นทดสอบประสิทธิภาพและการดูดซับฟอสเฟตประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ทราบชนิดเส้นใยที่เหมาะสมต่อผลิตไฟเบอร์ซีเมนต์ ทราบปริมาณเส้นใยที่เหมาะสมต่อการผลิตไฟเบอร์ซีเมนต์ ทราบชนิดเปลือกไข่ที่เหมาะสมต่อการผลิตไฟเบอร์ซีมนต์และการดูดซับไฟเบอร์ซีเมนต์ ทราบปริทมาณเปลือกไข่ที่เหมาะสมต่อการผลิตไฟเบอร์ซีเมนต์และการดูดซับฟอสเฟต ทราบไฟเบอร์ซีเมนต์ที่มีความทนทานสและดูดซับฟอสเฟตได้ดีที่สุด