ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา Rhizoctonia solani ในโรคกาบใบแห้งในข้าวของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพร

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ฐิตาภรณ์ สอนบุญ, พรนภา สมบัติศิริ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พรพรรณ โฉมวงษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพรในการยับยั้งเชื้อรา Rhizoctonia solani ซึ่งเป็นเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคกาบใบแห้งในข้าว โดยนำพืชสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ ข่า อบเชย และกานพลู มาสกัดด้วยตัวทำละลายเฮกเซน เจือจางสารด้วยวิธี two-fold dilution ให้มีระดับความเข้มข้นของสาร 1024, 512, 256, 128, 32, 8, และ 1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และนำไปทดสอบหาความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา (Minimum inhibitory concentration; MIC) จากนั้นนำสารสกัดทั้ง 3 ชนิดโดยเลือกจากความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราไปทดลองต่อไปสภาวะเรือนทดลอง ด้วยการใส่สารสกัดที่มีสารยูจีนอลลงไปในดินที่มีเชื้อรา R. solani จากนั้นสังเกตและบันทึกผล โดยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญแก่เกษตรกร เพิ่มทางเลือกในการแก้ปัญหาโรคกาบใบแห้งในข้าวของเกษตรกรโดยใช้สารสกัดจากธรรมชาติ