บรรจุภัณฑ์กันกระแทกจากเซลลูโลสกากชานอ้อยรวมกับด่างทับทิม ช่วยชะลอการเหี่ยวของกล้วยไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นภสร เเท่นทอง, พชรพร จันทร์ผ่อง, พัทธนันท์ พันธุลี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ถนัดศรี ทัดเที่ยง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันดอกกล้วยไม้เป็นไม้ดอกไม้ประดับเศรษฐกิจส่งออกของไทย ในปี2563(ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า817.5 ล้านบาท (ที่มาศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร) ประเทศไทยส่งออกดอกกล้วยไม้เป็นอันดับ 1 ของโลก โดยหลังจากเก็บเกี่ยว ดอกกล้วยไม้จะเกิดการเหี่ยวเฉาซึ่งทำให้มีอายุสั้น ไม่เหมาะแก่การส่งออกไปในประเทศที่ใช้เวลาในการขนส่งนาน โดยทั่วไปสภาพที่มีผลต่อการกระตุ้นการสร้างเอทิลีนในพืชได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจน การเกิดบาดแผลหรือชอกช้ำ รวมทั้งการเข้าทำลายของโรคและแมลง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทีผลต่อการสร้างเอทิลีน แต่มี 3 แนวทาง ที่สามารถยับยั้งการสร้างเอทิลีน ได้แก่ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ อุณหภูมิต่ำและการใช้สารดูดซับเอทิลีน ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรสามารถชะลอการสุกของผลไม้และยืดอายุการเก็บรักษาได้หลายวิธี เช่น การใช้ห้องเก็บรักษาที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจน จะทำให้การเก็บรักษานานมากยิ่งขึ้น แต่ก็มีราคาที่สูงมากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีกำลังมากพอที่จะซื้อได้ วิธีการบรรจุส่วนใหญ่ของเกษตรกรคือนำช่อดอกกล้วยไม้ที่ปาดก้านแล้วแช่น้ำยาเคมีและใส่ถุงห่อด้วยพลาสติกใส ก่อนบรรจุลงกล่องและเคลื่อนย้ายนำไปทำการบรรจุลงพาหนะที่ขนส่ง เมื่อขนส่งไปต่างประเทศที่ต้องใช้เวลานานในการขนส่งนานทำให้การเหี่ยวเฉาของดอกกล้วยไม้มากขึ้นจนกระทั่งเกิดความเสียหายแก่ดอกกล้วยไม้ที่ขนส่งไปประเทศอื่น
จากการศึกษางานวิจัยของดุษฎี สุริยพรรณพงศ์ และคณะพบว่าเซลลูโลสที่ย่อยจากกากชานอ้อย อนุภาคมีลักษณะเป็นท่อนสั้นๆ bulk density สูง ความพรุนต่ำและมี flow character อยู่ในช่วง very poor ถึง very very poor อัตราการพองตัวของเซลลูโลสจากกากชานอ้อยมีการพองตัวดีที่สุด จากงานวิจัยของรอสมี ยะสะแต และคณะ (2559) ได้ศึกษา ผลของสารดูดซับเอทิลีนต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพของ สตรอเบอร์รี่ พบว่า การใช้สารดูดซับเอทิลีน ร่วมกับการใช้ถุงพลาสติกสามารถยืดอายุการเก็บรักษาของผลผลิตได้ สารดูดซับเอทิลีนคือด่างทับทิม ซึ่งจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับก๊าซเอทิลีน เกิดเป็นสารใหม่ 2 ชนิดคือ แมงกานีสไดออกไซด์ และเอทิลีนไกลคอล ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นก๊าซเอทิลีนได้อีก วิธีการเตรียมสารดูดซับเอทิลีน ทำได้โดยจุ่มวัสดุที่มีความพรุนสูงในสารละลายอิ่มตัวของด่างทับทิมแล้วผึ่งลมให้แห้ง สามารถดูดซับก๊าซเอทิลีน ที่ผลไม้ปลดปล่อยออกมานอกผล ช่วยลดปริมาณก๊าซเอทิลีน จึงชะลอการสุกได้
ทางคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะทำบรรจุภัณฑ์กันกระแทกจากเซลลูโลสกากชานอ้อยร่วมกับด่างทับทิม เนื่องจากเซลลูโลสกากชานอ้อยมีสมบัติทางกายภาพเคมีคือไม่ละลายน้ำ และมีอัตราการพองตัวดีที่สุด และด่างทับทิมที่จะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับก๊าซเอทิลีนเกิดเป็นสารใหม่คือ แมงกานีสไดออกไซด์ และเอทิลีนไกลคอล ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นก๊าซเอทิลีนได้อีก เพื่อทำการดูดซับก๊าซเอทิลีนที่เป็นปัจจัยการเหี่ยวของดอกกล้วยไม้เพื่อเป็นแนวทางให้กับเกษตรกร