การสังเคราะห์ฟิล์มบริโภคจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแบคทีเรีย Acetobacter xylinum

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นิศารัตน์ อุตตะมัง, ปณิชญดา หรั่งแพ, ธีระเดช พันธ์งาม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ฉัตรธิดา ชัยโพธิ์ศรี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนพระนารายณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่อง การสังเคราะห์ฟิล์มบริโภคจากผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแบคทีเรีย Acetobacter xylinum เพื่อการทำฟิล์มบริโภคในการชะลอการเน่าเสียของผลไม้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ Acetobacter xylinum ในการผลิตวุ้นมะพร้าว ศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นฟิล์มบริโภคได้จากวุ้นมะพร้าว ทำการทดลองโดยการนำหัวเชื้อ Acetobacter xylinum ในการผลิตวุ้นมาเลี้ยงในแหล่งอาหารคือน้ำมะพร้าว และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อ การทำให้เกิดการผลิตเซลลูโลสของ Acetobacter xylinum ที่แตกต่างกันแล้วทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผลิตเซลลูโลส โดยการวัดความหนาแผ่นวุ้นมะพร้าวและชั่งน้ำหนักแผ่นวุ้นมะพร้าววัดการละลายได้ของของแข็งในสารละลาย (◦Brix) จากนั้นนำแผ่นวุ้นมะพร้าวที่ได้ไปผลิตเป็นฟิล์มบริโภคได้ (Edible films) และศึกษาประสิทธิภาพของฟิล์มบริโภคได้โดยวัดค่า pH ของสารละลาย ศึกษาลักษณะทางกายภาพของฟิล์มบริโภคได้ ทดสอบประสิทธิภาพในการถนอมอาหาร และหาแรงดึงที่ทำให้แผ่นฟิล์มจากแผ่นวุ้นมะพร้าวขาด พบว่า แบคทีเรียจะสามารถสร้างแผ่นวุ้นมะพร้าวได้ดีในแหล่งอาหารที่เป็นส่วนของน้ำมะพร้าวโดยมีหัวเชื้อของ Acetobacter xylinum ที่มีความเข้มข้นอยู่ 30% โดยปริมาณ โดนให้น้ำหนักของแผ่นวุ้นมะพร้าวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 105.15 กรัมและให้ความหนาเฉลี่ยอยู่ที่ 1.73 เซนติเมตร ค่าการละลายของของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดที่เหมาะสมคือค่าการละลายของของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดเท่ากับ 12 ◦Brix และใช้ปริมาณหัวเชื้อ เริ่มต้น 30 เปอร์เซนต์โดยปริมาตร โดยใช้ระยะเวลาในการทำการหมัก 14 วัน ซึ่งจะสามารถได้แผ่นวุ้นมะพร้าวมะพร้าวมีความหนา 1.64 เซนติเมตร และน้ำหนัก 103.56 กรัมโดยเฉลี่ย และผลการทดสอบประสิทธิภาพของความยืดหยุ่นของของฟิล์ม (แรงดึง) ฟิล์มจากแผ่นวุ้นมะพร้าวมะพร้าวที่มีกลีเซอรอล 9 เปอร์เซนต่อมิลลิลิตร มีความยืดหยุ่นตัวสูงเป็น 1.16 นิวตัน การศึกษาความเป็นกรด-เบส สารละลายจากวุ้นมะพร้าวที่มีปริมาณกลีเซอรอล 3, 5, 7 และ 9 เปอร์เซนต่อมิลลิลิตร มีความเป็นกรดอ่อนทั้งหมด การทดสอบพบว่าการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของเปลือกกล้วยและเนื้อแอปเปิล ในการใช้ฟิล์มจากแผ่นวุ้นมะพร้าวมะพร้าวที่มีกลีเซอรอล 7 เปอร์เซ็นต่อมิลลิลิตรมีอัตราการเกิดสีน้ำตาลน้อยที่สุดเนื่องจากกลีเซอรอล ช่วยผสานโมเลกุลของวุ้นมะพร้าวให้เชื่อมกันจึงช่วยลดการซึมผ่านของอน้ำและแก๊สออกซิเจน