การหาประสิทธิภาพของเครื่องหยอดน้ำกรดกึ่งอัตโนมัติในการหยอดน้ำกรดสำหรับการทำยางก้อนถ้วย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐนนท์ อ้นไธสง, ทัพไท วงค์วันดี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

น้ำผึ้ง สุพรมอินทร์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

ทางภาคอีสาน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ ทำนา ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ ซึ่งปัญหาอย่างหนึ่งของเกษตรกรชาวสวนยางพาราที่ผู้จัดทำได้เล็งเห็นความสำคัญ คือ การมีเวลาพักผ่อนน้อย ทำงานหนักได้ผลตอบรับที่ไม่คุ้มกับการลงแรง ประกอบกับการไม่มีความรู้และความเข้าใจในการทำงาน จึงอาจทำให้ผลผลิตขาดคุณภาพ รวมไปถึงสิ้นเปลืองแรงงานที่ต้องลงแรงเอง ในแต่ละวันชาวสวนยางจะต้องกรีดยางเพื่อรีดเอา น้ำยางออกมา เพื่อที่จะขายอีกที ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตในรูปต่างๆ เช่น ยางก้อนถ้วย ยางแผ่น แม้กระทั่งน้ำยางสด ย่อมต้องได้รับผลกระทบจากสารเคมีโดยตรงยังมีผลกระทบต่อมนุษย์ เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการแพ้ มีผื่นแดง ทางผู้จัดทำได้เล็งเห็นปัญหาเหล่านี้จึงได้ประดิษฐ์และคิดค้น เครื่องหยอดน้ำกรดกึ่งอัตโนมัติ นี้ขึ้นมา เพื่อที่จะย่นระยะเวลาการทำงานของเกษตรกรลง สามารถนำเวลาที่เหลือไปพักผ่อนหรือทำอย่างอื่นที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน รวมถึงการเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีโดยตรง เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของผู้ใช้งาน

2.วัตถุประสงค์ของโครงงาน

1.เพื่อสร้างและประดิษฐ์เครื่องหยอดน้ำกรดกึ่งอัตโนมัติ

3.สมมติฐาน

การหยอดน้ำกรดโดยเครื่องหยอดน้ำกรดกึ่งอัตโนมัติสามารถทำได้จริงและสามารถใช้งานในสถานที่จริงได้

4.ขอบเขตของโครงงาน

การศึกษาการทำเครื่องหยอดน้ำกรดกึ่งอัตโนมัติครั้งนี้ศึกษาเฉพาะการนำเครื่องหยอดน้ำกรดกึ่งอัตโนมัติไปใช้ในการหยอดเครื่องหยอดน้ำกรดกึ่งอัตโนมัติน้ำกรดยางพาราเท่านั้น

เครื่องหยอดน้ำกรดกึ่งอัตโนมัตินี้ กำหนดระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2564 –เดือนมีนาคม พุทธศักราช 2566

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย

กลุ่มผู้ทดสอบใช้งานจริงและสถานที่ศึกษาโครงงาน

กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง ณ ตำบล โนนสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ

อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน

อุปกรณ์

อุปกรณที่ใช้ในการทำโครงงาน ได้แก่

1.ท่อ pvc ขนาด 4 หุน

2.กาวทาท่อ

3.สายน้ำเกลือ

4.น้ำกรดฟอร์มิก หรือกรดแอซิติก

5.ถังนมเหลือใช้

6.เลื่อยเลื่อยท่อ

7.เทปดำ

8.มอเตอร์และฟันเฟือง

9.ถ่านชาร์จ

10.สายไฟ

11.สวิตช์

12.ตะกั่วบัดกรี

วิธีการดำเนินงาน

1.ทำการตัดถังนมที่ใช้แล้วติดกับท่อ pvc ที่เตรียมไว้

2.ทำการต่อวงจรไฟฟ้าระหว่ามอเตอร์กับถ่านชาร์จ สวิตช์และสายไฟที่เตรียมไว้

3.ต่อสายน้ำเกลือไปที่ถังนมที่เอาไว้บรรจุน้ำกรดและต่อเข้ากับถังนมที่มีท่อ pvc

4.ประกอบถังนมและมอเตอร์เข้าด้วยกัน และตรวจสอบความเรียบร้อย

5.ทดลองใช้งานและบันทึกผล