การศึกษาผลของการย่อยสลายพลาสติกชนิด LDPE (Low Density Polyethylene) โดยเชื้อราเห็ดสกุลนางรม
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชนันต์พร จันทิพย์, ทิพย์วัลย์ ลงเย, นุจรินทร์ ทศโยเคน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อรรถพล พันธ์ุงาม, ณัฐสุดา แก้วก่ำ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัญหาขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่สำคัญในระดับโลก เนื่องจากลาสติกมีระยะเวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติหลายร้อยปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะพลาสติกชนิด LDPE (Low Density Polyethylene) ซึ่งจะใช้เวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติถึง 450 ปี ทั่วโลกจึงได้พยายามหาแนวทางในการลดปัญหาขยะพลาสติกชนิด LDPE โดยการรีไซเคิล หรือการเร่งการย่อยสลายตามธรรมชาติ เชื้อราเห็ดสกุลนางรมมีรายงานว่าสามารถสร้างเอนไซม์ที่สามารถเร่งการย่อยสลายของพลาสติกได้ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชื้อราเห็ดสกุลนางรม จำนวน 4 ชนิด ต่อการย่อยสลายพลาสติก LDPE และเพื่อเปรียบเทียบเชื้อราเห็ดสกุลนางรมในการย่อยสลายพลาสติกชนิด LDPE โดยได้ทำการศึกษาความสามารถในการย่อยสลายพลาสติก LDPE ของเชื้อราเห็ดสกุลนางรม 4 ชนิด คือ เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรมฮังการี เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดนางรมหลวง โดยการเพาะเลี้ยงเช้าราเห็ดทั้ง 4 ชนิด ในอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA แล้วเพิ่มพลาสติกชนิด LDPE ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ เมื่อครบกำหนดระยะเวลาศึกษานำพลาสติกมาหาอัตราการสลายตัว และเปรียบเทียบอัตราการย่อยสลายพลาสติกของเชื้อราเห็ดทั้ง 4 ชนิด ผลจากการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกชนิด LDPE ในอนาคตได้