การศึกษาและพัฒนาวัสดุคอมโพสิตโฟมยางจากยางพาราธรรมชาติที่มีเส้นใยจากของเหลือของพืชที่มีสีต่าง ๆ เป็นตัวเสริมแรงเพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนสไตโรโฟมสำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภัทรพล มักขุนทด, เบญจพร ทองน่วม
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จุฑารัตน์ ใจงาม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์มีการใช้สไตโรโฟมในการยึดราก แต่เมื่อสไตโรโฟมกลายเป็นขยะต้องใช้เวลาย่อยสลายนานกว่าร้อยปี และสไตโรโฟมก่อให้เกิดมลพิษหลายรูปแบบจากกระบวนการกำจัดหลากหลายวิธี การแก้ปัญหานี้สามารถทำได้โดยการใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ วัสดุที่คณะผู้จัดทำสนใจคือยางพารา ซึ่งโดยปกติในท้องตลาดมีการแปรรูปยางพาราเป็นโฟมยางพารา แต่ค้นพบว่าโฟมยางพาราต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนานเช่นเดียวกับสไตโรโฟม ทางคณะผู้จัดทำเห็นว่าการเติมวัสดุจากธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้เข้าไปน่าจะช่วยให้โฟมยางพาราเกิดการย่อยสลายได้ดีขึ้น และมีวัชพืชหรือของเหลือจากพืชจำนวนมากที่ไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ จึงต้องการศึกษาและพัฒนาวัสดุคอมโพสิตโฟมยางจากยางพาราธรรมชาติที่สามารถย่อยสลายได้ โดยใช้เส้นใยจากของเหลือของพืชที่มีสีต่าง ๆ เป็นตัวเสริมแรง เพื่อใช้ทดแทนสไตโรโฟมในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยศึกษาหาอัตราส่วนที่ดีที่สุดสำหรับการขึ้นรูปโฟมยางให้ได้วัสดุคอมโพสิตโฟมยางที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสไตโรโฟม และศึกษาการย่อยสลายของวัสดุคอมโพสิต เพื่อพัฒนาหาวัสดุคอมโพสิตที่มีระยะเวลาในการย่อยสลายเหมาะสม แล้วนำไปต่อยอดสำหรับการประยุกต์ใช้ในการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ในลักษณะที่ต่างกัน