การศึกษาสารสกัดจากกุยช่ายและหัวหอมในการทดแทนยาปฏิชีวนะเพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli และ Salmonella spp. ในไก่

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัชชา ส้มลิ้ม, จินต์จุฑา จั่นผ่อง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ภูริศ คงเนียม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โรคที่เกิดจากเชื้อ Escherichia coli และเชื้อ Salmonella spp. ทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงไก่โดยกระจายควาเสียหายเป็นวงกว้างทั่วทั้งประเทศ ซึ่งในปัจจุบันมีการป้องกันและรักษาเชื้อ E.coli และเชื้อ Salmonella spp. ในไก่ด้วยยาปฏิชีวนะ ยาปฏิชีวนะหลายชนิดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย โดยมีบทบาทสำคัญในการรักษาโรค และบำรุงร่างกายของไก่ แต่การใช้ยาปฏิชีวนะสามารถเกิดผลข้างเคียงได้ ทั้งการดื้อยาของแบคทีเรียและมีการตกค้างในเนื้อไก่ ทั้งนี้มีการวิจัยสมุนไพรเพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะในสมุนไพร ก็มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น สารสกัดจากใบชะพลูสามารถยับยั้งเชื้อ E.coli ที่เป็นเชื้อก่อโรคในไก่ได้ สารสกัดอัลซิลินจากกระเทียมและข่าสามารถยับยั้งเชื้อ Salmonella spp. ที่เป็นเชื้อสำคัญในการก่อโรคเชื้อราในสัตว์ นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่ากระเทียมมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ E.coli และ Salmonella spp. ได้ โดยประโยชน์ของกระเทียมมีมากแต่ขณะเดียวกันปัจจุบันราคาของกระเทียมในตลาดทั่วไปก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยข้อมูลนี้ผู้จัดทำจึงอยากที่จะศึกษาต่อถึงการนำสารสกัดจากกุยช่ายและหัวหอมที่เป็นพืชตระกูลเดียวกับกระเทียม ซึ่งมีส่วนประกอบของสารอัลซิลินเช่นกันแต่มีราคาต่ำกว่า มาทดแทนหรือเทียบเคียงยาปฏิชีวนะเพื่อยับยั้งเชื้อ E.coli และเชื้อ Salmonella spp.