การพัฒนาถุงมือช่วยในการกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคนิ้วล็อคระยะที่ 2 โดย code flex github

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วิชญ์พล ฐิติอภิรักษ์กุล, ศิริศักดิ์ โทฮาด

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วัฒนะ รัมมะเอ็ด

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โรคนิ้วล็อคเป็นอีกหนึ่งกลุ่มอาการที่พบได้ในผู้คนทุกเพศทุกวัยส่วนมากสาเหตุมักเกิดจากการใช้งานนิ้วมือมากเกินไปหรือการกำมือซ้ำๆ จนทำให้ปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการงอนิ้วมือ เกิดการอักเสบและหนาตัวขึ้น ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยใช้งานนิ้วมือได้จำกัดทั้งการงอและแบบนิ้วทำได้ยากขึ้นและอาจทำให้รู้สึกเจ็บเมือพยายามงอนิ้วทำให้มีผลกระถบต่อการชีวิตประจำวัน โรคนิ้วล็อคในปัจจัจุบันแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ตามความรุนแรงของอาการนั้นคือ Phase 1, Phase 2, Phase 3, และ Phase 4 จากความรุนแรงทั้ง 4 ระยะมีเพียงระยะที่ 1 และ 2 ที่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพเช่น การนวด หรือการทำกายภาพบำบัด โดยในปัจจุบันเองการกายาพบำบัดด้วยการใช้เทคโนโลยีเก็เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นในสังคม คณะผู้จัดทำจึงได้ทำการพัฒนาถุงมือสำหรับกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคนิ้วล็อคในระยะแรกขึ้นโดยการใช้การเขียนโปรแกรมสำหรับทำการกายภาพบำบัดในรูปแบบของทุงมือกล โดยการทำถุงมือต้นแบบ Sender และ Receiver ความคุมการทำงานผ่านการเขียนโปรแกรมบน Arduino ide โดยเริ่มจากการเขียนโปรแกรมรับค่าของถุงมือ Sender ด้วยการใช้การรับข้อมูลการขยับนิ้วมือจาก Flex sensor และส่งข้อมูลมาเก็บไว้ที่ Arduino nano จากนั้นจึงจะส่งข้อมูลต่อไปยัง ถุงมือ Receiver ที่ใช้ Arduino uno r3 เป็นตัวรับข้อมูลความโค้งงอของนิ้วมือและส่งข้อมูลต่อไปที่ เซอร์โวมอเตอร์เพื่อทำการขยับนิ้วมือของ ถุงมือ Receiver ต่อไป หลังจากจบกระบวนการทำงานข้างต้น จะทำให้ผู้ที่ใส่ถุงมือ Sender กลายเป็นศูนย์กลางการควบคุมนิ้วมือโดยสมบูรณ์ การใช้งานถุงมือบำบัดดั่งกล่าวคือการให้ผู้บำบัดและผู้ป่วยใส่ถึงมือของมือข้างเดียวกันและเมื่อผู้ที่ทำกายภาพบำบัดเคลื่อนไหวมือในการทำกายภาพบำบัด ถุงมือที่ผู้ป่วยส่วมใส่ก็จะทำท่าทางกายภาพบำบัดตามการเคลื่อนไหวก่อนหน้าทุกประการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าถุงมือสำหรับกายภาพบำบัดที่ผลิตขึ้นนี้สามารถนำมาใช้งานในการกายภาพบำบัดผู้ป่วยโรคนิ้วล็อคในระยะที่ 2 ได้