เครื่องวัดรังสียูวีแบบติดตามตำแหน่งดาวอาทิตย์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ติโลตมา ถนอมรอด, กฤติพร กฤตเมธีพงศ์, กรชวัล ลิ่มพันธ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

บุญส่ง เห็นงาม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสาธิต พิบูลบำเพ็ญ มหาวิทยาลัยบูรพา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยข้อมูลจากRoyal society of chemistry สถิติในปี 1995-2017 จำนวนผู้ป่วยมีค่าเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวภายในระยะเวลาเพียง 12 ปี และข้อมูลจาก National Oceaninc and Atmospheric Administration (NOAA) กล่าวว่าในช่วงเดือน เมษายน-กันยายนของทุกปี จะมีค่าดัชนีรังสียูวีในเกณฑ์ที่สูงมาก และยังพบค่าดัชนีรังสียูวีขณะท้องฟ้าโปร่งมีค่าสูงเกินมาตรฐานที่ควรจะเป็นในค่าสูงสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม ปี 2003 แต่ในปี 2017 กลับมีค่าสูงเกินมาตรฐานไปมากๆตั้งแต่เดือน พฤษภาคมไปจนถึงเดือนกันยายน ซึ่งโรคมะเร็งผิวหนังเกิดจากการได้รับปริมาณรังสียูวีที่มีความเข้มมากเกินโดยรังสียูวีจะเข้าไปทำลาย DNA (genotoxic)

และกระตุ้นเซลล์มะเร็ง โดยเว็บไซต์ Science Leaning เปิดเผยว่ากว่า 90%ของผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังมีสาเหตุมาจากรังสียูวี ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงต้องการสร้างเครื่องวัดรังสียูวีแบบติดตามตำแหน่งดวงอาทิตย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้วัดค่าความเข้มของรังสียูวีแบบเรียลไทม์ โดยเมื่อดัชนีรังสียูวีมีค่าเกินกว่าที่กำหนด เครื่องจะส่งข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน Line ทำให้ผู้ใช้งานสามารถป้องกันได้ทันท่วงที