การพัฒนาประสิทธิภาพกระดาษคอมพาวด์จากเปลือกเงาะ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

แสงเทียน คนรู้, มธุทิพย์ ศิลาชัย, ชญานี วิเศษชาติ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วรรณิภา อุ่นไชย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนผักไหมวิทยานุกูล

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพกระดาษคอมพาวด์ซับน้ำมันจากเปลือกเงาะ จากการทดลองพบว่า เปลือกกุ้ง 150 กรัม สามารถสกัดไคโตซานได้ 20.2 กรัม คิดเป็น 13.47% ของน้ำหนักเปลือกกุ้ง เมื่อนำเส้นใย เปลือกเงาะ กล้วย และสัปปะรด ไปทดสอบความสามารถในการดูดซับน้ำมัน พบว่า เส้นใยจากเปลือกเงาะสามารถดูดซับน้ำมันได้ดีที่สุด จากนั้นนำเส้นใยจากเปลือกเงาะไปทดสอบความสามารถในการสลายเส้นด้วยน้ำด่างขี้เถ้าและน้ำปูนใสที่ระดับความเข้มข้น 25, 50 และ 75% พบว่า น้ำด่างขี้เถ้าเข้มข้น 75 % สามารถสลายเส้นใยจากเปลือกเงาะมากที่สุดโดยมีน้ำหนักเส้นใยเหลือจำนวน 17 กรัม และนำเส้นใยเปลือกเงาะที่ได้ไปทดสอบความสามารถในการฟอกสีด้วย กรดจากเปลือกสัปปะรดและกรดแอซิตริกที่ระดับความเข้มข้น 5, 10 และ 15% พบว่า กรดทั้ง 2 สามารถฟอกสีเส้นใยเปลือกเงาะจากสีน้ำตาลเข้มเป็นสีน้ำตาลอ่อน จากนั้นทดสอบความสามารถในการเติมสารยึดติดจากกาวแป้งข้าวเหนียวและกาวแป้งมันสำปะหลัง โดยการทำแผ่นกระดาษจากเส้นใยจากเปลือกเงาะในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน พบว่า การใช้กาวแป้งมันสำปะหลังเข้มข้น 3 % ในอัตราส่วน 15 : 30 : 40 (กาวแป้งมันสำปะหลัง : น้ำ : เส้นใยจากเปลือกเงาะ) มีความเหนียวและทนต่อการซึมผ่านของน้ำได้ดีที่สุด และนำไปทดสอบประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำมันของกระดาษคอมพาวด์จากเส้นใยเปลือกเงาะโดยใช้สารช่วยดูดซับไคโตซานเข้มข้น 3% ในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน พบว่า กระดาษคอมพาวด์ที่มีอัตราส่วน 5 : 15 : 30 : 40 (ไคโตซาน : กาวแป้งมันสำปะหลัง : น้ำ : เส้นใยเปลือกเงาะ) สามารถดูดซับน้ำมันได้ดีที่สุด