สารสกัดจากพืชเพื่อยับยั้งเชื้อรา Piricularia oryzae ของโรคไหม้ในข้าว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุชีรา ฉลาดถ้อย, ไพลิน ภู่ทอง, อัฐนิยา เปรมเกิด
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พัชรี ช้อนแก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ข้าวเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของคนไทยมายาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่การจากสำรวจข้อมูลเมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา มีการสรุปสถานการณ์โรคมะเร็งของประเทศไทย พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายสูงมากเป็นอันดับ 1 ของคนไทย และต่อเนื่องยาวนานมากว่า 13 ปี นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบอีกว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งกว่า 60,000 คนต่อปี ขณะที่มีรายงานการเสียชีวิตปีละเฉียด 8 ล้านคนทั่วโลก ล่าสุดองค์การอนามัยโลกยังคาดว่าอีก 21 ปีข้างหน้า จะมีผู้ป่วยมะเร็งเพิ่มขึ้นปีละ 24 ล้านคน สาเหตุของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ รวมถึงโรคมะเร็งนั้นส่วนใหญ่จะทราบกันดีว่ามาจากกิน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการใช้สารเคมี Captan ในการกำจัดโรคไหม้ จะเกิดขึ้นและแพร่ระบาดได้รุนแรง ถ้ามีสิ่งแวดล้อมเหมาะสม พบได้ทุกภาคในประเทศไทย สามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะ ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Pyricularia grisea Sacc. ตั้งแต่ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ ระยะออกรวง (โรคไหม้คอรวง หรือ โรคเน่าคอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก
การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง อากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส ลมแรงจะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี ในประเทศไทยใช้ Captan ค่อนข้างแพร่หลาย และส่งผลกระทบต่อแหล่งเพาะปลูกรวมถึงผลิตผลภาคการเกษตร ที่ส่งต่อเป็นอาหารเลี้ยงคนในประเทศ ทำให้สารพิษเหล่านี้เข้าไปในตัวเราโดยไม่ตั้งใจ อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ จากการรับประทานผักผลไม้ที่มีการปนเปื้อนของสารพิษจากยากำจัดเชื้อรา สะสมอยู่ตามดิน เทือกเขา แหล่งน้ำ ลำธารต่างๆ ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชผักผลไม้ เนื่องเกษตรกรส่วนใหญ่นำไปใช้ยังป่าต้นน้ำ พิษจากยากำจัดเชื้อราของ Captan นั้นเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ถ้าเข้าตา จมูก หรือสัมผัสผิวหนัง จะก่อให้เกิดอาการระคายเคือง คัน แสบตา แต่ถ้าหากสะสมมากๆอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ คำแนะนำจากแพทย์คือจะรักษาตามอาการ ด้วยสาเหตุข้างต้นนี้ทำให้คณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นถึงปัญหา และ ทำให้เกิดโครงงานนี้ขึ้น