ศึกษาความสามารถในการดูดซับแคดเมียมไอออนของ EDTA-chitosan-silica
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วรารีย์วัลย์ ศุขอัจจะสกุล, ณัฐชยา มีจันทร์, พรรณีลักษณ์ อุดมวิทย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จตุภรณ์ สวัสดิ์รักษา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบัน ปัญหาการปล่อยโลหะหนักลงในแหล่งน้ำของโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำรวมถึงผู้บริโภคสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น แคดเมียมไอออนเป็นหนึ่งในไอออนโลหะที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพในมนุษย์ การวิจัยเกี่ยวกับการลดปริมาณแคดเมียมไอออนในแหล่งน้ำจึงมีความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม จากงานวิจัยพบว่าซิลิกา มีสมบัติพื้นที่ผิวเยอะและทนต่อสภาพความเป็นกรดได้ดี ผู้วิจัยจึงได้ทำการปรับปรุงคุณสมบัติการดูดซับแคดเมียมไอออนของซิลิกา โดยทำการเพิ่มไคโตซานลงไป เนื่องจากไคโตซานมีหมู่ฟังก์ชันอะมิโนจำนวนมากจึงสามารถจับกับ Ethylenediaminetetraacetic acid (EDTA) ซึ่งเป็นสารที่มีอิเล็คตรอนคู่โดดเดี่ยวจำนวนมาก ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจับกับแคดเมียมไอออนได้ดีขึ้น การเตรียมตัวดูดซับทำโดยการสังเคราะห์ EDTA-Chitosan-Silica (EDTA-CS) ซึ่งสามารถเตรียมได้จาก ไคโตซาน, tetraethyl orthosilicate (TEOS), กรดแอซิติก, น้ำDeionizedและ EDTA-Na2 พบว่าเกิดตะกอนขึ้นหลังจากคนไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำตะกอนที่ได้ไปล้างด้วยน้ำ Deionized, เอทานอล และเฮกเซน โดยวิธี centrifuge แล้วอบที่อุณหภูมิ 40oC เป็นเวลา 48 ชั่วโมง จะได้ผงละเอียดสีขาว แล้วจึงนำไปตรวจสอบหมู่ฟังก์ชันโดยเครื่อง FTIR spectroscopy ขั้นตอนต่อไปคือนำไปทดสอบความสามารถในการดูดซับไอออนแคดเมียมของ EDTA-CS ที่เราสังเคราะห์ได้ โดยใช้เครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer (AAS)