กระถางต้นไม้ชีวภาพจากวัสดุอินทรีย์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จันทกานต์ แก้วขาว, กิติยา แก้วขุนทอง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วัชราภรณ์ แสนนา, รวิวรรณ กองมาศ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การผลิตกระถางต้นไม้จากวัสดุอินทรีย์มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตกระถางต้นไม้ชีวภาพจากวัสดุอินทรีย์ เปรียบเทียบผลการเจริญเติบโตของพืช และปริมาณแร่ธาตุอาหารหลักที่ละลายในดินจากการปลูกพืชในกระถางต้นไม้ชีวภาพจากวัสดุอินทรีย์ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ชุดการทดลองซึ่งมีอัตราส่วนของวัสดุอินทรีย์ได้แก่ มูลช้าง:ผักตบชวา:เปลือกไข่ เป็นอัตราส่วน 2:1:1 1:2:1 และ 1:1:2 ตามลำดับ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับชุดควบคุมซึ่งเป็นกระถางพลาสติกที่มีขายตามท้องตลาด ทำการศึกษาโดยนำวัสดุอินทรีย์มาขึ้นรูปกระถางชีวภาพนำมาปลูกพืช โดยพืชที่นำมาปลูกคือต้นดาวเรือง หาประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและวิเคราะห์ปริมาณแร่ธาตุหลักของกระถางแต่ละชุดการทดลอง ศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสารอินทรีย์ที่เหมาะสมในการผลิตกระถางต้นไม้ชีวภาพจากวัสดุอินทรีย์ ผลการทดลองพบว่าทั้ง 3 ชุดการทดลองสามารถขึ้นรูปกระถางได้ เมื่อนำกระถางต้นไม้ชีวภาพจากวัสดุอินทรีย์มาปลูกดาวเรืองเปรียบเทียบกับชุดควบคุม พบว่ากระถางต้นไม้ชีวภาพจากวัสดุอินทรีย์ทุกชุดการทดลองส่งผลต่อการเจริญเติบโตของดาวเรืองได้ดีกว่าชุดควบคุมทุกชุดการทดลอง โดยชุดการทดลองที่ 1 มีการเจริญเติบโตของต้นดาวเรืองมากที่สุด รองลงมาคือชุดที่ 3 และ ชุดที่ 2 และเมื่อนำมาวิเคราะห์หาแร่ธาตุหลักที่ละลายในดินด้วยชุดทดสอบปริมาณ N,P,K เพื่อหาปริมาณแร่ธาตุที่ละลายในดิน พบว่าแร่ธาตุที่ละลายในดินได้แก่ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ของกระถางชีวภาพจากวัสดุอินทรีย์มีปริมาณมากกว่าชุดควบคุม ดังนั้นจากผลการทดลองจึงสรุปได้ว่ากระถางชีวภาพจากวัสดุอินทรีย์ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย มีแร่ธาตุหลักและแร่ธาตุรองที่พืชต้องการเป็นองค์ประกอบ จึงส่งผลให้ดาวเรืองที่ปลูกในกระถางชีวภาพจากวัสดุอินทรีย์สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่ากระถางพลาสติกทั่วไป
คำสำคัญ : กระถางต้นไม้ชีวภาพ ประสิทธิภาพของเจริญเติบโตของพืช ชุดทดสอบปริมาณ N,P,K