การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของเส้นไหม

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วิชิตา แก้วมณีชัย, สุพัตรา กลิ่นชะเอม, พนิตพร เบ็ญระเหม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พรรณนิภา เชื้อสิงห์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเรณูนครวิทยานุกูล

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของเส้นไหม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาอุณหภูมิและความชื้นในการเลี้ยงหนอนไหม 2) ศึกษารูปทรงจ่อที่มีผลต่อความแข็งแรงของเส้นไหม 3) ศึกษาคุณภาพของเส้นไหมที่ชักใยในพื้นผิวจ่อแต่ละชนิด 4) ศึกษาค่า N P K ในมูลไหมที่ผสมกับมูลสัตว์ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช 5) ศึกษาความเป็นกรด-เบส ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเส้นไหม

การทดลองในครั้งนี้มีวิธีการทดลอง 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาอุณหภูมิและความชื้นของบ้านที่มุงด้วยหลังคาแต่ละชนิดในการเลี้ยงหนอนไหม 2) ศึกษารูปทรงจ่อต่างกันมีผลต่อความแข็งแรงของเส้นไหม 3) ศึกษาคุณภาพของเส้นไหมที่ชักใยในพื้นผิวจ่อต่างกัน 4) ศึกษาหาการเจริญเติบโตของพืชต่างชนิดกันที่ใส่ปุ๋ยต่างชนิดกัน 5) ศึกษาความเป็นกรด-เบส ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของเส้นไหม พบว่า 1) อุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมในการเลี้ยงหนอนไหม อยู่ระหว่าง 27 – 28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85%-90% ซึ่งหนอนไหมที่มีการเจริญเติบโตได้ดีที่สุดคือ หนอนไหมที่อยู่ในบ้านที่มุงด้วยหลังคาจากฟาง 2) เส้นไหมที่เลี้ยงในจ่อที่มีรูปทรงวงกลมจะมีมวลของใยมากที่สุดและมีความแข็งแรงทนต่อแรงดึงมากที่สุด 3) เส้นไหมที่เลี้ยงในจ่อที่มีพื้นผิวไม้ไผ่สานจะมีมวลของใยมากที่สุดและมีความแข็งแรงทนต่อแรงดึงมากที่สุด 4) ปุ๋ยที่ปลูกผักบุ้ง ให้ความสูงมากสุดได้แก่ มูลหนอนไหม+มูลหมู ปุ๋ยที่ปลูกถั่วให้ความสูงมากสุดได้แก่ มูลหนอนไหม+มูลควาย ปุ๋ยที่ปลูกข้าวที่ให้ความสูงมากสุดได้แก่ มูลหนอนไหม+มูลควาย 5) เส้นไหมที่ต้มด้วยน้าขี้เถ้าจากเปลือกใบขี้เหล็ก ที่มีค่า pH = 13 ทาให้มีความแข็งแรง มีความนุ่ม และมีโปรตีนมากที่สุด