การศึกษาความสามารถของสารสกัดจากเบญกานีในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐชนน ธีระงามไพศาล

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พัฒนพันธ์ สิงห์สวัสดิ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย,ไวรัส,สารพิษ หรือปรสิต ซึ่งอาการที่มักพบได้บ่อยของโรคอาหารเป็นพิษคือ วิงเวียนศรีษะ,อาเจียน,ท้องร่วง โดยสาเหตุหลักของโรคอาหารเป็นพิษเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Bintsis, 2017) นอกจากนี้โรคอาหารเป็นพิษยังสามารถเกิดจากการจัดการและเตรียมอาหารหรือวัตถุดิบประกอบอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ หรือสถานที่ประกอบอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ไม่ดีทำให้เชื้อโรคปนเปื้อนในอาหารได้ (ทรวง, 2537) ถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญและสามารถพบได้ทั่วโลก จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 24 ธันวาคม พ.ศ.2561 พบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษในประเทศไทย 115,095 ราย (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, 2561) ผู้จัดทำจึงสนใจศึกษาคุณสมบัติการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษ ของสารสกัดจากเบญกานี เนื่องจากเบญกานีมีสาร Quercetin (Cowan, 1999) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียได้หลายชนิด โดยการรบกวนเยื่อหุ้มเซลล์และยับยั้งการสังเคราะห์ DNA ของแบคทีเรีย (Nguyen, 2022) ผู้จัดทำจึงต้องการศึกษาความสามารถของสารสกัดจากเบญกานี ในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษที่สนใจ ได้แก่ แบคทีเรีย Salmonella typhimurium. , E.coli , Staphylococcus aureus, Campylobacter jejuni ด้วยวิธีการ Agar Well Diffusion เพื่อเป็นแนวทางในการใช้พืชสมุนไพรยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคอาหารเป็นพิษต่อไป