ถุงเพาะชำจากผักตบชวาที่ผสมด้วยไคโตซานที่มีประสิทธิภาพป้องกันโรคแอนแทรคโนส
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เบญจวรรณ พันธุรัตน์, สิริรัญญา อุ่นทิพย์ฉัตร, ธัญญ่า เกิดนุสนธิ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ขวัญฤดี พรมส้มซ่า, เพื่อนจิต สิงห์เผ่น
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมจากพลาสติก มีการนำพลาสติกมาใช้เป็นวัสดุภัณฑ์แทนบรรจุภัณฑ์หลายอย่าง ด้วยคุณสมบัติของพลาสติกที่มีความแข็งแรงคงทนต่อสารเคมี มีความยืดหยุ่นสูง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ย่อยสลายยาก ถ้านำไปเผาก็จะก่อให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดแก๊สเรือนกระจก ที่ส่งผลให้เกิด “ ภาวะโลกร้อน ” ทั้งนี้แนวทางการลดแก๊สเรือนกระจกแนวทางหนึ่งก็คือการปลูกต้นไม้ ต้นไม้จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซพิษอื่นๆ แต่การปลูกต้นไม้นั้นอาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไม่รู้ตัว เนื่องจากถุงเพาะชำที่ใช้ในการปลูกต้นไม้ผลิตมาจากเม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีน (Polyethylene – PE ) ซึ่งเป็นพลาสติกที่ใช้เวลาในการย่อยสลายถึงหลายสิบปี จึงมีการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาขยะพลาสติก ร่วมลดภาวะโลกร้อนทำให้เกิดการผลิตภาชนะปลูกพืชที่ทำจากวัสดุชีวภาพเพื่อให้เกิดการย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ใช้เวลาย่อยสลายไม่นาน ด้วยเหตุนี้ ทางคณะผู้จัดทำจึงพยายามคิดค้นเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว จากการสืบค้นข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ในการผลิตภาชนะปลูกพืชจะเลือกใช้พืชที่มีปริมาณเซลลูโลสสูง คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานถุงเพาะชำจากผักตบชวาและเคลือบไคโตซานที่ถุงเพาะชำ เนื่องจากไคโตซานมีคุณสมบัติใจการยับยั้งเชื้อรา C. gloeosporioides Penz. ซึ่งทำให้เกิดโรคแอนแทรคโนสในพืช โดยจะทำการศึกษาผลของไคโตซานที่ความเข้มข้นต่างกันต่อการต่อการยับยั้งเชื้อรา C. gloeosporioides Penz. ที่มีไคโตซานความเข้มข้น 0.1, 0.5, 1, 1.5 และ 2 และเปรียบเทียบกับน้ำกลั่นปลอดเชื้อ และทำการทดลองการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของต้นกล้าส้มโอในถุงเพาะชำที่เคลือบไคโตซานและไม่เคลือบไคโตซาน โดยจะทำการชำกิ่งส้มโอลงในถุงเพาะชำทั้งสองชนิด ตั้งไว้ในบริเวณที่มีแสง รดน้ำทุกๆเช้าและเย็น เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ทำการทดลองทั้งหมด 5 ซ้ำและบันทึกผล โดยจะในการบันทึกผลจะอิงจากความสูง จำนวนใบ และเส้นรอบวงของต้นกล้าที่เพิ่มขึ้น