ก้อนเพาะปลูกสำเร็จรูปรักษ์ป่า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

รุจิลดา สุคันโท, พรรณกาญจน์ จุลวนิชรัตนา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วริศรา วัชรเวียงชัย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสายปัญญารังสิต

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันป่าจำนวนมากถูกทำลายด้วยน้ำมือของมนุษย์และภัยธรรมชาติ กลุ่มคนที่เล็งเห็นถึงปัญหานี้ได้จัดทำกิจกรรมปลูกป่าขึ้น ในแต่ละครั้งจะมีการปลูกต้นกล้าเป็นจำนวนมากแต่ก็มีต้นกล้าบางส่วนที่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เนื่องจากดินในบางพื้นที่ไม่มีแร่ธาตุที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต และถุงเพาะชำที่ทำจากพลาสติกต้องแกะออกก่อนทำการนำลงดินปลูก ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็นการรบกวนระบบราก และเมื่อนำลงดินสำเร็จแล้วต้นกล้านั้นยังต้องการการดูแลเอาใส่ใจ เช่น การรดน้ำ พรวนดิน นอกจากนี้พลาสติกต้องใช้เวลาในการย่อยสลายเป็นเวลา 450 ปี ทำให้เกิดขยะเป็นจำนวนมาก

คณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะทำก้อนเพาะปลูกสำเร็จรูป โดยใช้ผักตบชวา ขุยมะพร้าว แกลบดำ มูลไส้เดือน แป้งมันสำปะหลัง มาทำเป็นก้อนเพาะปลูกที่มีแร่ธาตุเพียงพอและจำเป็นในการเจริญเติบโตในระยะหนึ่งโดยไม่ต้องการการดูแลมาก และนำพืชเศรษฐกิจของไทย “ข้าวโพด” มาทำไบโอพลาสติกเพื่อใช้แทนถุงเพาะชำ ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ถุงเพาะชำจากไบโอพลาสติกนี้จะไม่รบกวนระบบราก และยังเป็นการลดขยะ เพราะไบโอพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายน้อยกว่าพลาสติกทั่วไป

จากการทดลองพบว่าก้อนเพาะปลูกสำเร็จรูปสามารถประดิษฐ์และนำไปใช้ได้จริง