การพัฒนาวัสดุนาโนคอมโพสิตจากยางพาราร่วมกับกาบกล้วยเพื่อประยุกต์ใช้เป็นแผ่นดูดซับเสียงภายในอาคาร

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

จีรวัฒน์ ลี้เกษมทรัพย์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ขุนทอง คล้ายทอง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

งานวิจัยนี้เป็นการแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดมลพิษทางเสียง ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในเมืองใหญ่หรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสียงดัง มลพิษทางเสียงเป็นภัยใกล้ตัวที่มองไม่เห็น แม้จะไม่เป็นภัยถึงแก่ชีวิตในทันที แต่ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ ผู้วิจัยต้องการแก้ปัญหาดังกล่าว จึงมีความคิดที่จะสร้างวัสดุดูดซับเสียงภายในอาคาร ซึ่งเป็นการลดระดับความดังของเสียงรบกวนเพื่อความปลอดภัยของบุคคลที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดเสียง แต่พบปัญหาว่าส่วนใหญ่วัสดุที่นิยมนำมาผลิตเป็นวัสดุกันเสียงรบกวนเป็นวัสดุเคมีที่เป็นอันตราย ผู้วิจัยจึงมีความคิดที่จะนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้แทน ซึ่งจะทำให้ปลอดภัยต่อร่างกายมนุษย์และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการนำน้ำยางธรรมชาติที่ทำเป็นโฟมยางพารามาผสมเส้นใยจากกล้วยที่เสริมประสิทธิภาพด้วยสารซิลเวอร์นาโนที่สังเคราะห์จากเปลือกกล้วยน้ำว้าสุก เพื่อนำมาพัฒนาเป็นวัสดุนาโนคอมโพสิตจากยางพาราร่วมกับกาบกล้วยเพื่อประยุกต์ใช้เป็นแผ่นดูดซับเสียงภายในอาคาร