ศึกษาการลดสารปนเปื้อนในดินด้วยสารสกัดวัชพืชแบบเม็ด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภัณฑิรา ทองนาค, พิชชาภา เพ็งบุบผา, พิชชาพิมพ์ แก้ววิชิต

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ลำดวน บุญรังษี, เพ็ญพิชชา กิจลาภ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสงวนหญิง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ศึกษาการลดสารปนเปื้อนในดินด้วยสารสกัดวัชพืชแบบเม็ด มีจุดมุ่งหมายการเพิ่มคุณภาพของดินหลังจากการใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรโดยใช้วัชพืชที่มีในท้องถิ่นในรูปแบบผลิตภัณฑ์แบบเม็ดจากอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นโดยอาศัยหลักการของสกรูโดยทำการศึกษาชนิดและความเข้มข้นของสารสกัดจากวัชพืชที่มีผลต่อการรักษ์ดิน พบว่า สารสกัดจากใบธูปฤๅษีที่มีความเข้มข้น 40% โดยมวลต่อปริมาตร ทำให้ดินมีค่า pH เฉลี่ยเท่ากับ 6.77 และมีค่าการดูดกลืนสารปนเปื้อนกำจัดแมลงในดิน เท่ากับ 0.652 และค่าการดูดกลืนยากำจัดแมลงในผักบุ้งเฉลี่ยเท่ากับ 0.368 ผักบุ้งมีการเจริญเติบโตดีและสารสกัดจากใบรางจืดที่มีความเข้มข้น 60% โดยมวลต่อปริมาตรทำให้ดินมีค่า pH เฉลี่ยเท่ากับ 7.22 และค่าการดูดกลืนสารกำจัดแมลงในดินเฉลี่ยเท่ากับ 0.683 ค่าความดูดกลืนยากำจัดแมลงในผักบุ้งเฉลี่ย 0.476 ผักบุ้งมีการเจริญเติบโต ศึกษาชนิดตัวดูดซับสารสกัดจากวัชพืชที่อัตราส่วนต่างๆในการทำเม็ดวัชพืช พบว่าเปลือกไข่เป็ดสามารถดูดซับอัตราส่วนผสมของสารสกัดจากใบธูปฤๅษีที่มีความเข้มข้น 40% โดยมวลต่อปริมาตรและสารสกัดจากใบรางจืดที่มีความเข้มข้น 60% โดยมวลต่อปริมาตรที่อัตราส่วน 2:1 โดยปริมาตร ทำให้ดินมีค่า pH เฉลี่ยเท่ากับ 7.65 และมีค่าการดูดกลืนสารกำจัดแมลงในดินเฉลี่ยเท่ากับ0.426 ผักบุ้งมีการเจริญเติบโต ซึ่งใกล้เคียงกับชุดควบคุมวัชพืชที่ไม่มีตัวดูดซับดินและเปรียบเทียบการลดปริมาณสารปนเปื้อนในดินที่เกิดจากการทำนาด้วยสารสกัดวัชพืชแบบเม็ดและปุ๋ยชีวภาพ จากการศึกษาพบว่า ดินหลังการปรับปรุงด้วยสารละลายเม็ดวัชพืชพบว่า ดินมีค่า pH เท่ากับ 7.77 ค่าดูดกลืนของยากำจัดแมลงเฉลี่ยเท่ากับ 0.196