การศึกษาและเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไรแดงด้วย คลอเรลลาเสริมสารอาหารจากหนอนรถด่วน เปรียบเทียบกับการเลี้ยงไรแดงด้วยคลอเรลลาเพียงอย่างเดียว เพื่อใช้เป็นการทดแทนอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปุญญพัฒน์ เรือนแป้น, สิทธิวัฒน์ ธาระนารถ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กริชชุกรณ์ ศิริพันธ์, พัชราภรณ์ บุณยทรรศนีย์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนปากเกร็ด

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันความต้องการสินค้าทางประมงก็เพิ่มขึ้นเนื่องจากประชากรโลกเพิ่มขึ้น ทำให้สินค้าทางประมงก็เพิ่มขึ้นมากตามไปด้วย (การค้าสินค้าและการประมงระหว่างประเทศ, 2544) จากการายงานของ FAO (2018) สถิติผลผลิตสินค้าประมงจากการจับ ตั้งแต่ปี 1950 ถึง 2015 พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ดั้งนั้นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคืออาหารที่ใช้ในการเลี้ยงอนุบาลสัตว์ อาหารมีชีวิตมีบทบาทอย่างมากในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อน เนื่องจากสัตว์น้ำวัยอ่อนนั้นมีการพัฒนาการอวัยวะในการย่อยอาหารที่ไม่สมบูรณ์ (Conceição et al., 2010) ซึ่งเหมาะที่จะนำไปใช้ในการอนุบาลสัตว์อ่อนโดยเฉพาะในช่วงเริ่มกินอาหาร ทำให้สัตว์น้ำวัยอ่อนนั้น กินอาหารได้ดีขึ้น ส่งผลให้การเจริญเติบโตดีมีอัตราการรอดตายเพิ่มมากยิ่งขึ้น (Kar et al., 2017; Okunsebor, 2014; Rottmann et al., 2016) จึงมีความเป็นไปได้ในการใช้ไรแดงทดแทนอาร์ทีเมียในการเลี้ยง เนื่องจากอาร์ทีเมียนั้นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ในการอนุบาลลูกกุ้ง ลูกปลา หรือสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ การผลิตไข่ไรแดงก็เป็นแนวทางในการทดแทนอาร์ทีเมียอีกอย่างนึง

ไรแดง (water flea) หรือ ไรน้ำจืด หรือ ลูกไร เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกครัสเตเชียนสกุลหนึ่ง โดยอยู่ในสกุล Moina ถือเป็นแพลงก์ตอนสัตว์อย่างหนึ่ง อาศัยอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำจืด มีขนาดโดยทั่วไป 0.4–1.8 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีแดงเรื่อ ๆ ถ้าอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากจะมองเห็นเป็นกลุ่มสีแดงเข้ม ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย ลำตัวอ้วนเกือบกลมมีขนาดโดยเฉลี่ย 1.3 มิลลิเมตร ขณะที่ตัวผู้มีขนาดเล็กและค่อนข้างยาวกว่า มีขนาดเฉลี่ย 0.5 มิลลิเมตร ตัวอ่อนของไรแดงเมื่ออกมาจากไข่ใหม่ ๆ จะมีขนาด 0.22–0.35 มิลลิเมตร มีสีจางกว่าตัวเต็มวัย ไรแดงนิยมให้เป็นอาหารปลาทั้งปลาสวยงาม และปลาเศรษฐกิจ โดยเป็นอาหารที่เหมาะมากสำหรับลูกปลาวัยอ่อน และเป็นอาหารถ่ายท้องแก้ปัญหาท้องผูกของปลา คุณค่าทางสารอาหารของไรแดง ประกอบไปด้วย โปรตีนร้อยละ 74.09, คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 12.50, ไขมันร้อยละ 10.19 และเถ้าร้อยละ 3.47 ปัจจุบันมีการเพาะขยายพันธุ์ไรแดงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อส่งขายเป็นอาหารปลาทั่วไป

ทางคณะผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาไรแดง เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไรแดง เพื่อใช้เป็นอาหารในการเลี้ยงสัตว์น้ำวันอ่อนในประเทศไทย ศึกษาผลของปริมาณอาหารต่อการเพิ่มจำนวนประชากรของไรแดง เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตไรแดงให้มีปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่จะทำการเลี้ยง เพื่อให้มีไรแดงใช้ในการอนุบาลสัตว์ตลอดปี สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน และสะดวกในการนำไปใช้งาน เนื่องจากสามาถนำไรแดงไปแช่ในอุณหภูมิที่ต่ำได้