ศึกษาผลของคาร์บอนแบล็คต่อเยื่อกรองและกระดาษดูดซับไคโดซานเกล็ดปลานิล
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อาทิตยา ศูนย์ศร, นันทนา ผาใต้, ปิยวัตร วงศ์เครือศร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
จุฑามาศ คำเพชรดี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
คณะโครงงานได้จัดทำโครงงานเรื่องผลของไคโตซานเกล็ดปลานิลต่อเยื่อกรองและกระดาษดูดซับไคโดซานเกล็ดปลานิล พบว่า ไคโตซานเกล็ดปลาสามารถดูดซับสารตะกั่วได้ดีกว่าเปลือกหอย ร้อยละ 25 และดูดซับน้ำมันได้ดีกว่าเซลลูโลสใบไม้ ร้อยละ 33 เยื่อเซลลูโลสผักตบชวาผสมไคโตซานเกล็ดปลานิลดูดซับสารตะกั่วได้ดีขึ้น ดังนั้น จากทั้ง 2โครงงานบูรณาการเป็นโครงงานศึกษาผลของคาร์บอนแบล็คต่อเยื่อกรองและกระดาษดูดซับไคโดซานเกล็ดปลานิล มีการทดลอง 3 ขั้นตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับสารตะกั่วเยื่อกรองไคโตซานที่มีตัวดูดซับต่างชนิดโดยปฏิกิริยาระหว่างสารละลาย Pb(NO3)2 กับสารละลาย KI บอกปริมาณสารตะกั่วด้วยตะกอน PbI2 มีตัวดูดซับผสม ดังนี้ 1.ผักตบชวา+ไคโตซาน 2.ผักตบชวา+กระดาษรีไซเคิล+ไคโตซาน 3.ผักตบชวา+กระดาษรีไซเคิล + ทิชชู+ไคโตซาน 4.ผักตบชวา+ไคโตซาน+คาร์บอนแบล็ค 5.ผักตบชวา+กระดาษรีไซเคิล+ไคโตซาน+คาร์บอนแบล็ค 6.ผักตบชวา+กระดาษรีไซเคิล+ทิชชู+ไคโตซาน+คาร์บอนแบล็ค โดยที่ตัวดูดซับทั้ง 5 ชนิด มีมวลรวมตัวดูดซับ 50g ไคโตซาน 10g ผสมคาร์บอนแบล็ค 0.5g ผลที่ได้ เยื่อกรองที่เติมคาร์บอนแบล็คทุกชนิดมีความสามารถดูดซับสารตะกั่วมากขึ้น และดูดซับสารตะกั่วได้ดีที่สุดคือ เยื่องกรองผสมระหว่างผักตบชวา+กระดาษรีไซเคิล+ทิชชู+ไคโตซาน+คาร์บอนแบล็ค ค่าเฉลี่ยปริมาณตะกอน PbI2 ที่เหลือน้อยที่สุด 0.99 กรัม ตอนที่ 2 ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับน้ำมันของกระดาษดูดซับไคโตซานที่มีตัวดูดซับต่างชนิด ทำการทดลองใช้ตัวดูดซับชนิดเดียวกันกับการทดลองตอนที่ 1 โดยทดลองการดูดซับน้ำมันพืชจากส่วนบนและส่วนล่างของกระดาษ ผลที่ได้ กระดาษดูดซับน้ำมันส่วนบน(ใช้เป็นกระดาษดูดซับอาหารทอด)ที่ดีที่สุด คือ กระดาษชวา+ไคโตซาน มีค่าเฉลี่ยเวลาดูดซับ=12.95 วินาที และ กระดาษดูดซับน้ำมันจากส่วนล่างกระดาษ (ใช้เป็นกระดาษดูดซับหน้า) กระดาษดูดซับที่ดีที่สุด คือ ผักตบชวา+กระดาษรีไซเคิล + ทิชชู+ไคโตซาน+คาร์บอนแบล็ค มีค่าเฉลี่ยน้ำมันที่ดูดซับได้= 1.65 ml
ตอนที่ 3.1 ศึกษาปริมาณคาร์บอนแบล็คต่อความสามารถในการดูดซับสารตะกั่ว ระหว่างเยื่อผักตบชวา+กระดาษรีไซเคิล+ ทิชชู+ไคโตซาน+คาร์บอนแบล็ค ที่มีปริมาณคาร์บอนแบล็ค 0.5, 1, 2 กรัม ผลที่ได้ เยื่อกรองที่มีคาร์บอนแบล็ค มวล 1 กรัม สามารถดูดซับสารตะกั่วได้ดีที่สุด ตอนที่ 3.2 ศึกษาปริมาณคาร์บอน-แบล็ค ต่อความสามารถในการดูดซับน้ำมันของกระดาษดูดซับที่มีปริมาณคาร์บอนแบล็คต่างกัน 0.5, 1, 2กรัม ทดลองใช้ตัวดูดซับเช่นกันกับการทดลองตอนที่ 3.1 แต่ให้ดูดซับน้ำมันพืชจากส่วนบน และส่วนล่างของกระดาษพบว่า กระดาษดูดซับน้ำมันส่วนบนและส่วนล่างได้ดีที่สุดปริมาณคาร์บอนแบล็ค มวล 2 กรัมหรือยิ่งเพิ่มปริมาณคาร์บอนแบล็คความสามารถในการดูดซับน้ำมันพืชยิ่งมากขึ้น
ดังนั้นโครงงานนี้สามารถนำไคโตซาน-คาร์บอนแบล็คพัฒนาสู่เยื่อกรองดักโลหะไอออนและกระดาษดูดซับน้ำมันเพื่อเป็นแนวทางศึกษาวิจัยให้ได้มาตรฐานประยุกต์ใช้งานด้านการกรองสารหรือแยกสารตลอดจนบำบัดน้ำทิ้งเพื่อคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมแบบยั่งยื่นต่อไป