วัสดุนาโนคาร์บอนจากชานอ้อยเพื่อการกรองน้ำเสียจากภาคครัวเรือน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ขวัญรตา โพธิ์ศรา, กัญญาภัค บุญญะรัตนะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สงกรานต์ บุตตะวงค์, ณรงค์ศักดิ์ เเสงขาว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การจัดทำโครงงานในครั้งนี้ เป็นการทดลองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการกรองสารแขวนลอยที่มีอนุภาคขนาดเล็กในน้ำเสียจากภาคครัวเรือนของวัสดุนาโนคาร์บอนที่ได้แปลงมาจากชานอ้อย และเพื่อลดปริมาณชานอ้อยที่เหลือจากการใช้ประโยชน์อื่น ๆจากอ้อย ดำเนินงานโดยการใช้วัสดุนาโนคาร์บอนที่มีคุณสมบัติดักจับสารแขวนลอยขนาดเล็กและไม่ชอบน้ำมาใช้ในการดูดซับสารแขวนลอยขนาดเล็กออกจากน้ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองเป็นน้ำเสียจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบไปด้วย ชานอ้อยที่ถูกแปลงเป็นวัสดุนาโนคาร์บอนซึ่งในการทดลองนี้ขั้นตอนแรกจะต้องอบแห้งชานอ้อยด้วยอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสม ก่อนเข้ากระบวนการคาร์บอไนเซชั่นเพื่อแปลงเป็นวัสดุนาโนคาร์บอน การทดลองจะดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลาประมาณสองสัปดาห์ เพื่อตรวจสอบปริมาณสารแขวนลอยในวัสดุนาโนคาร์บอนและปริมาณสารแขวนลอยขนาดเล็กที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในน้ำ แล้ววิเคราะห์ประสิทธิภาพการกรองน้ำของวัสดุนาโนคาร์บอนจากการวัดปริมาณสารแขวนลอยขนาดเล็กที่หลงเหลืออยู่ในน้ำหลังจากการกรองน้ำเสีย