การศึกษาการสกัดพรีไบโอติกจากเปลือกและแกนสับปะรดเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากธรรมชาติ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ปรียาลักษณ์ แฝงพงศ์กองสิน, ชัยพลฎ์ ศรีภิรมย์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปิยะมาศ เจริญชัย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

สับปะรด เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนชื่อบรอมีเลน (bromelain) มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้ออ่อนๆคอยทำลายแบคทีเรียที่ไม่มีประโยชน์ ช่วยย่อยโปรตีนไม่ให้ตกค้างในลำไส้ และ มีเกลือแร่ วิตามินซีจำนวนมาก และนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์เพื่อรักษาอาการอักเสบของเนื้อเยื่อ ซึ่งจริง ๆ แล้วเอนไซม์บรอมีเลน มีอยู่ในทุกส่วนของสับปะรด แต่พบในส่วนแกนมากที่สุด

พรีไบโอติก (Prebiotics) คือ สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่มีกลุ่มโมโนแซคคาไรด์ตั้งแต่ 3 หน่วยขึ้นไป ได้แก่ โอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharide) และ พอลิแซคคาไรด์ (Polysaccharide) เช่น ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด์ (FOS) กาแลคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (GOS) และ อินนูลิน (Inulin) มีประโยชน์ในการช่วยป้องกันและลดอาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย บรรเทาอาการท้องผูก ลดค่า pH ของลำไส้และผลิต Short Chain Fatty Acids (SCFA) ช่วยในการย่อยและการดูดซึมอาหารเข้าสู่ร่างกาย ช่วยลดระดับ LDL ในเส้นเลือด ซึ่งในปัจจุบันมนุษย์มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น

เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การใช้ชีวิตประจำวันที่สะดวกสบาย ไม่มีเวลาออกกำลังกายเพื่อดูแลสุขภาพ รวมไปถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้รางกายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เช่น ท้องเสีย ท้องร่วง ลำไส้อักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ทำให้มนุษย์เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ซึ่งมีวิธีหนึ่งที่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆเหล่านี้ได้ คือ การรักษาสมดุลของจุลชีพที่อยู่ในร่างกาย โดยในร่างกายของเรามีจุลินทรีย์อยู่ 2 ชนิด ได้แก่ จุลินทรีย์ที่มีปะโยชน์ (Beneficial microorganisms) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์กลุ่ม โพรไบโอติก (Probiotics) และ จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค(Pathogenic microorganisms)โดยส่วนใหญ่อยู่ในลำไส้ดังนั้นการเจริญเติบโตของโพรไบโอ ติก จึงขึ้นอยู่กับอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยอาหารที่สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โพรไบโอติกเรียกว่า พรีไบโอติก ซึ่งจะช่วยกระตุ้น ส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์โพรไบโอติก เช่น Bifidobacteria และ Lactobacillus แต่ไม่ส่งเสริมการกระตุ้นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค พรีไบโอติกสามารถสกัดได้จากพืชอาหารและการสังเคราะห์ด้วยเอนไซม์ แต่องค์ประกอบที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในท้องตลาดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสังเคราะห์