วิจัยและพัฒนากระดาษดูดซับสารเอทิลีนจากเส้นใยผักตบชวา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ภัทรวิภา ทองแสง, ชัญญาณัฏฐ์ ศิริพรมงคล, กัญญณัช เดชธนาธันยกร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ถวิล วรรณวงศ์, เนตรนภา บัวเกษ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เอทิลีน (อังกฤษ: ethylene) เป็นฮอร์โมนพืชที่มีสภาพเป็นก๊าซที่อุณหภูมิห้อง บทบาทที่สำคัญของ เอทิลีนคือควบคุมกระบวนการเติบโตที่เกี่ยวข้องกับความชรา การหลุดร่วงของใบ ดอก ผล และควบคุมการเจริญของพืชเมื่ออยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม และถ้าเมื่อสารเอทิลีนถูกปล่อยออกมาก็จะทำให้ผลไม้สุกและทำให้เน่าในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาต่อการขนส่งผักและผลไม้ไปค้าขายในที่ที่มีระยะการเดินทางยาวนาน

ผักตบชวา เป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู สามารถอยู่ได้ทุกสภาพน้ำ มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ มีดอกสีม่วงอ่อน คล้ายช่อดอกกล้วยไม้ และผักตบชวาก็สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วจนทำให้มันกลายเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงในแหล่งน้ำทั่วไป

ถ่านกัมมันต์ (อังกฤษ: activated carbon หรือ activated charcoal) โดยทั่วไปมันเป็นวัสดุที่ประกอบด้วย คาร์บอน ที่ได้จาก ถ่าน ถูกระบุว่าเป็นวัสดุที่มีพื้นที่ผิว สูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถใน การดูดซับไนโตรเจนมีสูงมาก เพราะว่ามันมีรูเล็กๆ (microporosity) จำนวนมาก และสามารถเพิ่มพลังการดูดซับได้อีกโดยใช้สารเคมีปรับสภาพ

เนื่องจากปัญหาผักตบชวาและปัญหาของเอทิลีนที่มีผลต่อการขนส่งผักและผลไม้ ผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะต่อยอดนำปัญหาเหล่านี้มาแก้ไขให้เกิดประโยชน์ โดยการนำเส้นใยของผักตบชวาที่เป็นวัชพืชทางน้ำที่ร้ายแรง มาทำการวิจัยและผลิตเป็นกระดาษดูดซับเอทิลีน นอกจากจะแก้ปัญหาสองอย่างข้างต้นแล้ว ยังสามารถลดขยะพลาสติกที่มีในการใช้แผ่นดูดซับแบบทั่วไปได้อีกด้วย