นวัตกรรมเลียนแบบลูกไม้เพื่อการกระจายพันธุ์พืชจากวัสดุชีวภาพคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่สามารถย่อยสลายได้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐพนธ์ พัลวัล, สิทธิราษฎร์ ไพรป่า
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศราวุฒิ ขันคำหมื่น, ศรีวิกาญจน์ กรุมรัมย์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในการจัดทำโครงงานนวัตกรรมเลียนแบบลูกไม้เพื่อการกระจายพันธุ์พืชจากวัสดุชีวภาพคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่สามารถย่อยสลายได้ เนื่องด้วยในปัจจุบันจำนวนทรัพยากรของต้นไม้ในพื้นที่ป่าในประเทศไทยลดน้อยลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์และสิ่งแวดล้อม ทางผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยส่งเสริมการปลูกต้นไม้และฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ด้วยการออกแบบนวัตกรรมโดยรับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติซึ่งในโครงงานนี้เป็นการเลียนแบบลูกยางนา เนื่องจากมีลักษณะที่พิเศษคือเป็นลูกไม้ที่เมื่อตกจากต้นจะปลิวไปตามลมและตกลงสู่พื้นเพื่อขยายพันธุ์ซึ่งทางผู้จัดทำเล็งเห็นถึงลักษณะพิเศษในเรื่องนี้จึงได้นำมาประยุกต์ใช้กับวิธีการเลียนแบบธรรมชาติหรือชีวลอกเลียน (Biomimicry) โดยเลือกวัสดุหลักในการจัดทำ คือ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส (carboxymethyl cellulose: CMC) เพราะเป็นวัสดุมีความสามารถในการละลายน้ำ สามารถย่อยสลายได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมนี้จัดทำโดยมีกระบวนการดำเนินงาน คือ วางแผนงาน, เตรียมวัสดุจาก CMC, ออกแบบโดยใช้การชีวลอกเลียน(Biomimicry) พร้อมขึ้นรูปแม่พิมพ์ชิ้นงาน และการนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาประกอบเป็นชิ้นงานนวัตกรรม จากนั้นนำนวัตกรรมไปทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น การวัดเปอร์เซ็นต์การละลายน้ำ การย่อยสลายได้ทางชีวภาพ คุณสมบัติเชิงกลต้านทานแรงดึงของวัสดุ เป็นต้น