การเปรียบเทียบประสิทธิภาพเส้นด้ายจาก บัววิคตอเรีย และ บัวสาย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ชญานิศ ภูพวก, นิพาดา สุกกรี, แทนรัก สุขทิพย์คงคา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
รัตนาภรณ์ เบ็ญมาศ, วรางคณา ธุภักดี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันมีการผลิตเส้นด้ายจากใยสังเคราะห์เพื่อนำมาใช้ทดแทนเส้นใยธรรมชาติ เพราะ มีข้อจำกัดในการ
ใช้งาน แต่เส้นใยสังเคราะห์นั้น ย่อยสลายยาก และ ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหาการกำจัดเส้นใย
สังเคราะห์หลังหมดอายุการใช้งาน จึงมีการพัฒนาเส้นด้ายจากใยธรรมชาติจากพืชเพิ่มขึ้นหลายชนิด เป็นตัวเลือก
ให้กับผู้ใช้งาน เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากเส้นใยสังเคราะห์
เส้นใยแบ่งออก 2 ประเภท ได้แก เส้นใยสังเคราะห์ (Synthetic fibbers) เป็นเส้นใยสังเคราะห์ขึ้นจาก
กระบวนการทางเคมี มีคุณสมบัติหลายอย่างที่แตกต่างไปจากเส้นใยธรรมชาติ ทนทานสารเคมี ยับยาก ไม่ดูดซับ
น้ำ แต่ผลิตจากสารเคมีเป็นหลัก และย่อยสลายยาก เช่น โพลีเอสเตอร์ ไนลอน และ เรยอน เป็นต้น และ เส้นใย
ธรรมชาติ (Natural fibers) เป็นสิ่งที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์กันมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเส้นใยธรรมชาติ
ต่างๆ เหล่านี้เป็นพอลิเมอร์ที่อยู่ในพืช สัตว์ และสินแร่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีน้ำหนักเบา เป็นฉนวน
ความร้อนที่ดี ใส่สบาย ปลอดภัยจากสารเคมี เช่น เส้นใยจาก ฝ้าย ลินิน ป่าน ปอ และ บัว เป็นต้น
บัว เป็นพืชน้ำที่ผู้คนมักปลูกเพื่อความสวยงาม มีประโยชน์มากมาย เช่น สามารถนำไปประกอบอาหาร มี
สรรพคุณเป็นยา และสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ เช่น กระดาษจากเส้นใยบัว ชาเกสรบัว และ สิ่งทอ
(gidanan, 2562) เป็นต้น แต่บัวก็มีข้อเสียเช่นกัน บางชนิดเมื่อบัวเน่าเสีย จะเกิดกลิ่นเหม็น และ น้ำบริเวณรอบๆ
เน่าเหม็น
ทางคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำบัวทั้ง2ชนิดคือ บัววิคตอเรีย และ บัวสายมาทำเป็นตัวอย่างเส้นด้ายและ
นำมาเปรียบเทียบกันว่าบัวชนิดใดที่นำมาทำเป็นเส้นด้ายแล้วมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน เพื่อที่จะนำตัวอย่าง
เส้นด้ายจากบัวชนิดนั้นไปทำเป็นเส้นด้ายแล้วต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆได้อย่างมีคุณภาพ เนื่องจากบัวทั้ง2
ชนิดมีเส้นใยสามารถจะนำมาทำเป็นเส้นด้าย อีกทั้งเพื่อลดปัญหาที่เกิดจากการเน่าเสียของบัวเหล่านี้อีกด้วย