การผลิตฟิล์มห่อเครื่องปรุงอาหารสำเร็จรูป

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นิภาวรรณ แก้วปุม, ศิริรุ้ง จันสมุทร์, นันทิกานต์ โชติรัตน์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เนตรนภา บัวเกษ, ถวิล วรรณวงศ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การใช้ฟิล์มและสารเคลือบที่รับประทานได้ เพื่อรักษาคุณภาพและยึดอายุการเก็บผลิตภัณฑ์อาหารไม่ใช่ เป็นเรื่องใหม่ แท้จริงแล้วการเคลือบอาหารเป็นความคิดดั้งเดิม ที่จะเลียนแบบสารเคลือบผิวของเครื่องปรุง อาหารสาเร็จรูป จึงมีการห่อหุ้มเครื่องปรุงอาหารสาเร็จรูปด้วยหนังปลา เพื่อป้องกันการสูญเสียรสชาติของ เครื่องปรุงอาหาร เนื่องจากสูญเสียความชื้น ดังตัวอย่างการทดลองเคลือบเครื่องปรุงบะหมี่กึ่งสาเร็จรูปด้วย หนังปลาซึ่งมีความคิดที่ริเริ่มมาเนิ่นนานแต่ยังไมม่ีการทางานวิจัยที่เป็นผลงานออกมาซึ่งมุ่งที่จะพฒันาฟิล์ม และสารเคลือบที่สามารถรับประทานได้ ทั้งนี้ทั้งนนั้ มีฟิล์มที่สามารถรับประทานได้เพียง 2-3 ชนิดเท่านั้น ที่ นามาใช้ทางการค้า เนื่องจากมีข้อจากัดในการใช้งานเมื่อเปรียบเทียบกับฟิล์มพลาสติกที่ใช้บรรจุอาหารซึ่งมีอยู่ มากมายหลายชนิด โดยทั่วไปแล้วฟิมล์พลาสติกมีสมบัติในการขวางกั้น มิให้นา แก๊ส และอื่น ๆ อีกมากมาย ผ่านเข้าออกจากอาหารดีกว่าฟิล์มที่รับประทานได้ แต่ก็ยังมีการค้นคว้างานวิจัยเกี่ยวกับฟิล์มที่รับประทานได้ ต่อไปและได้ขยายวงกว้างขึ้นใน 2-3 ปีที่ผ่นมา เนื่องจากฟิล์มที่รับประทานได้มีข้อดีอื่น ๆ เหนือกว่าฟิล์ม พลาสติกหลายประการ ปัจจุบันบรรจุภัณฑ์พลาสติกหรือฟิล์มสังเคราะห์มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งฟิล์ม สังเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ทาให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรง ดังนั้นฟิล์มที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ หรือฟิล์มที่บริโภคได้จึงได้รับความสนใจจากผู้บริโภค การศึกษานี้มี จุดประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางเคมีกายภาพของฟิล์มจากโปรตีนถั่วเขียว สมบัติทางกลและทางกายภาพของ ฟิล์มจากโปรตีนถั่วเขียว การสร้างฟิล์มจากสารละลายโปรตีนไอโซเลต(protein isolate) เชื่อว่าเกิดจากการ สร้างโพลีเมอร์ของโปรตีนเละการระเหยของตัวทาละลาย ที่ระหว่างผิวหน้า (interface) ของฟิล์มกับอากาศซึ่ง โมเลกุลของโปรตีนในฟิล์มจะจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจน