การศึกษาปัจจัยของแสงที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการสังเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระในผักไมโครกรีน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พลอยชนก สีหราช, ภาคิน พลคำ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปิญากรณ์ น่วมอิ่ม, อรพรรณ พยัฆกุล

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเซนต์นิโกลาส

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ผักไมโครกรีนเป็นทางเลือกสำหรับคนที่รักสุขภาพ ปลอดภัยจากสารเคมีและสารพิษ โดยการผลิตแต่ละรุ่นใช้ระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ผักไมโครกรีนเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ผักไมโครกรีนหลายชนิดมีปริมาณสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าผักที่มีการเจริญเติบโตเต็มวัยแล้ว โดยผักไมโครกรีนอุดมไปด้วยสารประเภท antioxidant ซึ่งมีมีคุณสมบัติสามารถต้านอนุมูลอิสระและการล้างสารพิษได้ นอกจากนี้ยังมีสารซัลโฟราเฟน เมื่อสารซัลโฟราเฟนถูกสะสมในเนื้อเยื่อและจะสามารถออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง ซึ่งระยะการบริโภคของไมโครกรีนเป็นช่วงที่จะมีใบจริงคู่แรก อาหารและแร่ธาตุต่างๆ ที่ผู้บริโภคจะได้รับจากผักไมโครกรีนนั้น ได้จากการที่เมล็ดสร้างเอนไซม์ขึ้นมาย่อยสลายอาหารที่ถูกสะสมไว้ในเมล็ด เพื่อใช้ในกระบวนการงอกและเจริญเติบโตต่อไป

เราทำให้การทดสอบในครั้งนี้ออกมาดีที่สุด เพื่อหาแนวทางธุรกิจในภาคเกษตรกรรม เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรไทยในรูปแบบใหม่ที่เกิดจากผักไมโครกรีน โดยเราได้เลือกมาทั้งหมด 4 สี ที่จะนำมาทำการทดลองเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของผักไมโครกรีน ซึ่งแสงที่เรานำมาทดสอบเป็นแสงจากหลอด LED ซึ่งมีทั้งหมด 4 สี แต่ละสี่ก็จะมีความเข้มแสงที่แตกต่างกัน โดยหลอด LED แบบที่หนึ่งเป็นหลอด LED สีแดง มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 470-500 nm หลอด LED แบบที่สองหลอด LED สีน้ำเงิน มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 580-620 nm แบบที่สามหลอด LED สีเขียวมีความยาวคลื่นอยู่ที่ 380-420 nm และหลอด LED สีม่วง มีความยาวคลื่นอยู่ที่ 500-550 nm การทดลองดังกล่าวให้ได้มาซึ่งแสงที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของผักไมโครกรีนแต่ละชนิด เพื่อให้ได้ผักไมโครกรีนที่มีคุณภาพและคุณค่าทางอาหารมากที่สุด