การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์จากไผ่ซางหม่นที่เสริมประสิทธิภาพด้วยเส้นใยจากผักตบชวาเพื่อทำเป็นแผ่นกรองตะกอน สีและกลิ่นในน้ำเสีย
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
สุณิชา แก้วอัคฮาด, ปทิตตา เทพารักษ์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
พิพัฒน์พงษ์ สาจันทร์, ดวงฤดี เทศสนั่น
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพของถ่านกัมมันต์ที่เผาด้วยอุณหภูมิต่างกัน 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแผ่นกรองตะกอน สี และกลิ่นจากไผ่เลี้ยงที่เสริมประสิทธิภาพด้วยเส้นใยจากผักตบชวา ผลการศึกษาพบว่า 1.ถ่านกัมมันต์ที่เผาด้วยอุณหภูมิ 1,000 °C สามารถนำไฟฟ้าได้ มีรูพรุนขนาดใหญ่และมีจำนวนรูพรุนมากกว่าถ่านกัมมันต์ที่เผาด้วยอุณหภูมิ 800 °C แสดงว่าอุณหภูมิที่ใช้ในการเผาถ่านมีผลต่อขนาดของรูพรุนที่เกิดขึ้นซึ่งมีผลต่อการกรองน้ำ 2.การกรองน้ำด้วยถ่านกัมมันต์ที่ได้จากการเผาด้วยอุณหภูมิ 1000 °C เสริมประสิทธิภาพด้วยเส้นใยจากผ้าผักตบชวา สามารถกรองตะกอนและสีได้ดีกว่าน้ำที่ยังไม่ผ่านการกรอง 3.ถ่านกัมมันต์ที่เผาด้วยอุณหภูมิ 1000 °C เสริมประสิทธิภาพด้วยผ้าจากเส้นใยผักตบชวาสามารถกรองน้ำที่มีตะกอนและสีได้ดีกว่าถ่านกัมมันต์ที่เผาด้วยอุณหภูมิ 800 °C ซึ่งเสริมประสิทธิภาพด้วยผ้าจากเส้นใยผักตบชวา