อิทธิพลของช่วงความยาวคลื่นแสงต่อความสามารถการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ จากสาหร่ายสีไปรูลิน่า

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชนันธร ชนะวิทย์, สาริศา นิ่มไศละ, วิชญาพร อุตมางคบวร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จินตนา วงศ์ต๊ะ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสถาบันไทยโคเซ็น แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันน้ำมันเป็นที่ต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ จากสถิติการใช้น้ำมันในไทยช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 เฉลี่ยอยู่ที่ 158.86 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.1 ของปีที่ผ่านมา ในอดีตมีการใช้ถั่วลิสงเป็นพลังงานทดแทนแต่ไม่ได้รับความสนใจเนื่องจากน้ำมันดีเซลมีราคาถูก (Green Network, 2023) แต่ในปัจจุบันผู้คนเริ่มให้ความสนใจการผลิตพลังงานทดแทนจากราคาน้ำมันดีเซลที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งหนึ่งในวิธีที่เป็นที่แพร่หลาย คือ การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันสาหร่าย

ทั้งนี้แสงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตและปริมาณน้ำมันในสาหร่าย โดยช่วงความยาวคลื่นแสงที่สาหร่ายสามารถดูดกลืนได้ดีที่สุด คือ แสงสีน้ำเงิน (Sanomaru, 2564)

จากที่กล่าวมาข้างต้นทางคณะผู้จัดทำจึงสนใจการเพิ่มปริมาณน้ำมันที่สกัดจากสาหร่ายด้วยความแตกต่างของช่วงความยาวคลื่นแสง โดยใช้หลอดไฟไดโอดชนิดเปล่งแสง (LED) สีขาว สีเขียว และสีน้ำเงิน ที่มีช่วงความยาวคลื่นอยู่ที่ 380-780 นาโนเมตร 520-565 นาโนเมตร และ 500-520 นาโนเมตร ตามลำดับ ในการทดลองจะเพาะเลี้ยงสาหร่ายสีไปรูลีน่า (Spirulina sp.) ด้วยกระบวนการมิกโซโทรฟิค (Mixotrophic cultivation) สกัดน้ำมันออกจากสาหร่ายด้วย ผลิตเชื้อเพลิงด้วยวิธีทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน (Transesterification) แล้วจึงสกัดน้ำมันด้วยเครื่องล้างอัลตราโซนิค (Ultrasonic cleaning bath) วัดการเจริญเติบโตด้วยการวิเคราะห์ความหนาแน่นของเซลล์บนสไลด์ฮีมาไซโตมิเตอร์(Haemacytometer) วิเคราะห์หาปริมาณน้ำมันด้วยเครื่องซอกล์เล็ต (Soxhlet) และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) คณะผู้จัดทำคาดหวังว่าผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพที่ได้จะมีปริมาณสูงกว่าค่ามาตรฐาน และสามารถใช้เป็นต้นแบบเพื่อขยายการผลิตจากระดับห้องปฏิบัติการเป็นระดับโรงงานพาณิชย์ต่อไป