ศึกษาประสิทธิภาพปรากฏการณ์อัลลีโลพาธีจากเมล็ด เปลือก ใบ ของต้นยูคาลิปตัสในการยับยั้งการงอกของหญ้าเจ้าชู้

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

บุญมาตา ผ่องแผ้ว, รุจิรา ศรีโคตร, พีรพัฒน์ สว่างเนตร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ศิริขวัญ ขันทะ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ศึกษาผลของสารสกัดจากปรากฏการณ์อัลลีโลพาธีของเมล็ด เปลือกและใบของต้นยูคาลิปตัส ซึ่งพบปัญหาว่าชาวนานิยมปลูกต้นยูคาลิปตัส ไว้บนคันนาปรากฏว่าการเจริญเติบโตของข้าวในนาช้ากว่าปกติ พืชที่ได้รับผลกระทบจะมีอาการแคระแกรน จึงได้นำต้นยูคาลิปตัสมาใช้ในการยับยั้งการงอกของหญ้าเจ้าชู้ ซึ่งจัดเป็นวัชพืชสำคัญที่แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเมล็ดมีลักษณะเป็นหนามแหลมที่สามารถเกาะติดกับเสื้อผ้า และร่างกายสัตว์ ทำให้นำพาเมล็ดแพร่กระจายไปสู่ท้องที่อื่นได้รวดเร็ว คณะผู้จัดทำจึงได้ทำการทดลองโดยมีแปลงที่มีสารสกัดที่แตกต่างกัน ทดลองปลูกหญ้าเจ้าชู้จำนวน 20 เมล็ด ซึ่งแปลงที่1จะใช้น้ำธรรมดา แปลงที่2-4จะใช้สารสกัดจากต้นยูคาลิปตัส และคำนวณหาอัตราการยับยั้งงอกของหญ้าเจ้าชู้ เพื่อทำให้อัตราการงอกของหญ้าเจ้าชู้มีจำนวนลดลงและทำให้ทราบประสิทธิภาพของสารสกัดจากปรากฏการอัลลีโลพาธีในการยับยั้งการงอกของหญ้าเจ้าชู้