การศึกษาความสามารถของสารประกอบฟีนอลิกจากสารสกัดพืชที่สามารถสลายการจับตัวกันของทาร์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศลิษา อัตวีระพัฒน์, อภิรฎา ชาครนิธิพงศ์, อัยรัตน์ ชำนาญนา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
หทัยชนก ชนะชัย, วิไลพร แก้วสืบตระกูล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของสารสกัดจากพืชกลุ่มฟีนอลิกที่สามารถสลายการจับตัวกันของทาร์ได้ โดยมีวิธีการดำเนินการ 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การสกัดสารกลุ่มฟีนอลิกจากพืช 3 ชนิด
1.1 สารสกัดจากเปลือกส้มโอ นำเปลือกส้มโอที่บดละเอียดมาแช่ในตัวทำละลายเอทานอลเข้มข้น 95% เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วกรองด้วยกระดาษกรอง 1.2 สารสกัดจากเหง้าขมิ้นชัน นำส่วนเหง้าของขมิ้นชันไปอบแห้งบดให้ละเอียดแล้วนำไปแช่ในตัวทำละลายเอทานอลเข้มข้น 95% ในขวดสีชาเป็นเวลา 2 ชั่วโมงแล้วกรองด้วยกระดาษกรอง 1.3 สารสกัดจากพริกขี้หนูสวน นำพริกขี้หนูสวนที่ตากจนแห้งมาบดละเอียดแล้วนำไปผสมกับตัวทำละลายเอทานอลเข้มข้น 95% ต้มที่อุณหููมิ 40C เป็นเวลา 40 นาที แล้วกรองด้วยกระดาษกรอง
ทดสอบความสามารถของสารสกัดในการสลายการจับตัวกันของทาร์ โดยนำสารสกัดแต่ละชนิดมา 100 มิลลิลิตร เขย่าผสมกับทาร์ปริมาตร 5 มิลลิลิตร ตั้งทิ้งไว้ 20 ชั่วโมงแล้วกรองด้วยกระดาษกรอง นำสารที่กรองได้ไประเหย วัดปริมาณทาร์คงเหลือเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของสารสกัดจากพืชในการสลายการจับตัวกันของทาร์
ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากเปลือกส้มโอมีปริมาณทาร์คงเหลือมากที่สุดเฉลี่ย 6.69 กรัม รองลงมาคือสารสกัดจากขมิ้นชัน และสารสกัดจากพริกขี้หนู โดยมีปริมาณทาร์คงเหลือเฉลี่ย 3.205 และ 3.115 กรัม ตามลำดับ ดังนั้นสารสกัดจากเปลือกส้มโอจึงมีความสามารถในการสลายการจับตัวกันของทาร์มากที่สุด จากผลการศึกษาครั้งนี้สามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อเป็นประโยชน์ในทางการแพทย์ได้ จึงควรมีการศึกษากลไกการเกิดปฏิกิริยาในเชิงลึกของสาร รวมถึงเปรียบเทียบกับสารสกัดอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายกันและหาได้ในธรรมชาติต่อไป