การพัฒนาเส้นใยผักตบชวา โดยการเพิ่มสารแทนนินจากพืชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะหนัก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

กิตตินันท์ บุญมี, ณัฐกุล จีนย้าย, นันท์มนัส มากล้น

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ชลาธร วิเชียรรัตน์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

น้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญมากสำหรับสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ที่อาศัยน้ำในการดำรงชีวิต ในปัจจุบันนี้การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้มีปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำและเกิดการสะสมของโลหะหนัก ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ที่อาศัยแหล่งน้ำ และผักตบชวาเป็นพืชที่มีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วจึงทำให้ขัดขวางทางน้ำ คณะจัดทำจึงทำโครงงาน เรื่อง การพัฒนาเส้นใยผักตบชวา โดยการเพิ่มสารแทนนินจากพืช เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับโลหะหนัก โดยแบ่งขั้นตอนการศึกษาทั้งหมด 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เพื่อศึกษาวิธีการทำแผ่นดูดซับจากใยผักตบชวา ตอนที่ 2 เพื่อศึกษาปริมาณสารแทนนินในพืชแห้งทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่ ใบกระถิน ใบยูคาลิปตัส ใบย่านาง และใบยอด้วยตัวทำละลายที่ต่างกัน และตอนที่ 3 เพื่อศึกษาปริมาณการดูดซับโลหะหนักในน้ำเสียด้วยแผ่นดูดซับใยผักตบชวาที่เคลือบด้วยสารแทนนินจากพืชต่างชนิดกัน จากนั้นวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักด้วยเครื่อง FAAS โดยการเปรียบเทียบประมาณโลหะหนักที่แผ่นดูดซับจากใยผักตบชวาที่เคลือบด้วยสารแทนนินจากพืชต่างชนิดกัน ผลการทดลองพบว่าการใช้สารสกัดจากใบแห้งมวล 25 กรัม ด้วยเอทานอล 150 cm3 อุณหภูมิ 70 ๐C เวลา 4 ชั่วโมง เมื่อนำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบกับเฟอร์ริค (III) คลอไรด์ พบว่าสารละลายเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินปนเหลือง แสดงว่ามีสารแทนนินเป็นองค์ประกอบ เมื่อนำไปทำเป็นแผ่นดูดซับใยผักตบชวาที่เคลือบด้วยสารแทนนินจากพืชต่างชนิดกัน และวิเคราะห์หาปริมาณโลหะตะกั่วด้วยเครื่อง FAAS พบว่าปริมาณตะกั่วในสารละลายตะกั่วมีประมาณลดลง